โลโก้เว็บไซต์ โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนางานบริการวิชาการ มทร.ล้านนา ๒๕๖๒ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนางานบริการวิชาการ มทร.ล้านนา ๒๕๖๒

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 6 มีนาคม 2562 โดย นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส จำนวนผู้เข้าชม 3,193 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้จัดโครงการ “การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนางานบริการวิชาการ” ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๒ ระหว่างวันที่ ๖ – ๘ มีนาคม ๒๕๖๒ ณ สถานีพัฒนาการเกษตรตามพระราชดำริ ดอยม่อนล้าน อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ในพิธีเปิดโครงการ กล่าวรายงานและชี้แจงวัตถุประสงค์การมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยนายภฤศพงศ์  เพชรบุล ผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน กล่าวเปิดโครงการโดยนายภูพิชิต ช่วยบำรุง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติศรีลานนา  ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอพร้าว หัวหน้าหน่วยจัดการต้นน้ำแม่สะลวม หัวหน้าหน่วยจัดการต้นน้ำพร้าว คณะทำงานม่อนล้านโมเดล และหัวหน้าโครงการและผู้เข้าร่วมโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตหมู่บ้านชุมชนแบบมีส่วนร่วม  จำนวน ๕๖ ราย  มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคณะทำงานโครงการบริการวิชาการให้เกิดกระบวนการใหม่ในการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ แล้วนำความรู้และแนวปฏิบัติที่ดี ที่ได้รับจากการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปใช้ในการพัฒนางานบริการวิชาการให้มีประสิทธิภาพ และขับเคลื่อนสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ต่อไป และในโอกาสนี้ได้ลงพื้นที่ศึกษาผลการดำเนินงานโครงการม่อนล้านโมเดล ซึ่งเป็นการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายหลายแห่ง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติศรีลานนา หน่วยจัดการต้นน้ำ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ในการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนาอาชีพให้กับชุมชนที่อยู่ในโครงการพระราชดำริดอยม่อนล้าน ในโอกาสนี้คณะทำงานจะได้มีโอกาสนำเสนอผลการดำเนินงาน “ม่อนล้านโมเดล ท่องเที่ยววิธีชุมชน” ซึ่งแบ่งการพัฒนา ๓ ด้านได้แก่ ผลิตภัณฑ์ชุมชน การจัดการท่องเที่ยว ศูนย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชุมชน

 

เรื่อง  : นางสาวหนึ่งฤทัย  แสงใส

ภาพ : นางสาวหนึ่งฤทัย  แสงใส และนางสาววัลภา กันทะวงค์







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon