เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 23 มิถุนายน 2559 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 1,588 คน
ยกระดับคุณภาพชีวิตโหล่งขอด รุกกลุ่มหัตถกรรม หลังจากการร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง “โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม บ้านหลวง หมู่ที่ 6 ตำบลโหลงขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่” ระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนากับหน่วยงานภาคีเครือข่ายอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ 14 หน่วยงาน ร.ต.ชัยภูมิ สีมา หัวหน้าโครงการยกระดับฯ และคณะทำงาน จัดโครงการศึกษาข้อมูลและการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผลผลิตทางการเกษตรและกลุ่มหัตถกรรม แบบครบวงจรตั้งแต่กระบวนการจัดตั้งกลุ่ม การผลิต จนถึงกระบวนการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ความรู้ชุมชนโดยแบ่งขั้นตอนโครงการต่างๆ ดังนี้ · การส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มและการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร โดยคุณรสรินทร์ ดุษดินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอพร้าว ระหว่างวันที่ 27 -28 พฤษภาคม 2559 · แนวทางของการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยคุณปัทมาพร ใคร้วานิช นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ระหว่างวันที่ 2 – 3 มิถุนายน 2559 · ช่องทางการตลาดของผลิตภัณฑ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยคุณกมลฉัตร แสนสี นักวิชาการพานิชย์ ระหว่างวันที่ 2 – 3 มิถุนายน 2559 · ช่องทางการตลาดของผลิตภัณฑ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ประเภทผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษหรือกลุ่มอินทรีย์ โดยคุณอรทัย สมณานักวิชาการพาณิชย์ ระหว่างวันที่ 2 – 3 มิถุนายน 2559 · อบรมเชิงปฏิบัติการกลุ่มหัตถกรรมจักสารโดย ผศ.วาสนา สายมา อาจารย์ประจำสาขาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา ระหว่างวันที่ 20-21 มิถุนายน 2559 โดยโครงการศึกษาข้อมูลและการจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ผลผลิตทางการเกษตรและกลุ่มหัตถกรรมดังกล่าว ทางคณะทำงานได้วางแผนการจัดโครงการ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนสืบไป
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา