เผยแพร่เมื่อ : พุธ 6 มกราคม 2564 โดย รัตนาภรณ์ สารภี จำนวนผู้เข้าชม 8,315 คน
คุยเฟื่องเรื่องเทคโนโลยีกับสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน(สถช.) กับ เรื่องราวรู้หรือไม่? .... วันนี้พี่ TechTalk ขอแนะนำ "แนวทางการพัฒนา "ตราสินค้า" และ "บรรจุภัณฑ์" สำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชน" จากผลงานวิจัยของนักวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา หนึ่งในวิธีที่จะทำให้ผู้บริโภคสามารถจดจำ และช่วยรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้
การพัฒนาตราผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์เป็นการนำเอาอัตลักษณ์มาใส่อย่างเหมาะเจาะ ทำให้สินค้าให้เป็นที่จดจำง่าย และสื่อถึงตัวผลิตภัณฑ์ เป็นการสร้างกลยุทธ์ทางการตลาด ที่ทำให้สามารถขยายตลาดผลิตภัณฑ์ของทางตนเองให้เป็นที่รู้จัก ดึงดูความสนใจของลูกค้า และสามารถรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้ดี
การพัฒนาตราให้มีความสมบูรณ์เข็มแข็ง ควรเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ของบริษัทในการพัฒนาวิสัยทัศน์และภารกิจของตราสินค้าผ่านกิจกรรมทางการตลาด ให้สามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ธุรกิจให้สัมพันธ์กับลูกค้าโดยตรง และกิจกรรมต้องอยู่บนความสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างยั่งยืน
มีขั้นตอนดังนี้
บรรจุภัณฑ์มีความสำคัญด่านแรกที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกชม และเลือกซื้อของผู้บริโภค และเนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปไม่หยุดนิ่ง บรรจุภัณฑ์ก็ต้องพัฒนาต่อไปไม่หยุดนิ่งเช่นกัน โดยในพื้นที่ของบรรจุภัณฑ์ให้สื่อสารความเป็นแบรนด์ออกไป ด้วยการสื่อสารอารมณ์ผ่านเรื่องราวลงไปในบรรจุภัณฑ์ ซึ่งมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ
นอกจากนั้น บรรจุภัณฑ์ต้องรับผิดชอบต่อผู้บริโภค คือ สะดวก ใช้งานง่าย (ใช้งานได้ลื่นไหล) เช่น บรรจุภัณฑ์ขนม ต้องออกแบบให้สะดวก คือ ฝาปิดสนิทเปิดรับประทานง่าน ขนาดกะทัดรัด น่ารัก หยิบจับถนัดมือ
การออกแบบกราฟิกถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการบรรจุภัณฑ์เป็นอย่างมาก เพราะว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญเหนือไปจากการบรรจุและการป้องกันผลิตภัณฑ์โดยตรง ทำให้บรรจุภัณฑ์ได้มีหน้าที่เพิ่มขึ้นมา แบ่งออกเป็น บรรจุภัณฑ์สำหรับค้าปลีก บรรจุภัณฑ์เพื่อการค้าส่ง และ บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง
โดยที่ลักษณะกราฟิกบรรจุภัณฑ์และฉลากได้แสดงบทบาทหน้าที่สำคัญ ได้แก่
ตราสินค้า เป็นภาพลักษณ์ที่สะท้อนตัวสินค้า ทำให้ลูกค้าเกิดความต้องจงรักภักดี ในการออกแบบจะต้องสร้างความแตกต่าง ทำให้เกิดตำแหน่งครองใจมีจุดยืนในสมองของลูกค้า
ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม ควรมี
1. มีข้อมูลบ่งบอกรายละเอียดผลิตภัณฑ์ครบถ้วน น่าเชื่อถือ
2. สามารถผลิตบรรจุภัณฑ์ในระบบอุตสาหกรรมได้จริง
3. มีสัดส่วนเหมาะสมกับการใช้งาน
4. สามารถรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้ดี โดยมีต้นทุนไม่สูงมาก
สุดท้ายนี้ พี่ TechTalk หวังว่าเพื่อนๆ จะสามารถนำแนวทางการพัฒนา "ตราสินค้า" และ "บรรจุภัณฑ์" ให้ผู้บริโภคสามารถจดจำ และช่วยรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในแบบของตัวเองได้นะครับ
ผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง : การศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้ง เพื่อการออกแบบตราสินค้าและ บรรจุภัณฑ์ สู่การขยายโอกาสทางธุรกิจ ของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนบ้านกิ่วมื่น ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน (จิรฉัตร จันทร์แจ่ม เดวีส์, 2562)
สามารถอ่านเล่ม ได้ที่ ห้องคลังความรู้ชุมชน มุมผลงานวิจัย มทร.ล้านนา
หรืออ่านแบบออนไลน์ได้ที่ URL Link : https://rmutlresearch.blogspot.com/2020/12/2562_22.html
หรือ ติดต่อหัวหน้านักวิจัย "จิรฉัตร จันทร์แจ่ม เดวีส์"
ได้ที่ URL Link : https://kaewpanya.rmutl.ac.th/cttc/expert/expert.php?id=1260
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา