โลโก้เว็บไซต์ [[บทความแนวปฏิบัติที่ดี 2564]] ด้านการผลิตบัณฑิต - การบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ (Hands-on) | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

[[บทความแนวปฏิบัติที่ดี 2564]] ด้านการผลิตบัณฑิต - การบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ (Hands-on)

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 9 สิงหาคม 2564 โดย รัตนาภรณ์ สารภี จำนวนผู้เข้าชม 2,098 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

ชื่อผลงาน “แนวปฏิบัติที่ดี” การบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ (Hands-on)

หน่วยงาน คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่

ชื่อ-สกุล ผู้นำผลงาน นางสาวเกิดศิริ  ชมภูกาวิน

ประเภทผลงาน ด้านการผลิตบัณฑิต

 

บทสรุป

การบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนเป็นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพนักศึกษาสู่การเป็นบัณฑิตนักปฏิบัติ(Hands-on) โดยเน้นทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 เป็นการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาสู่การดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ โดยการให้นักศึกษานำผลงานจากการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการนำเสนอทางธุรกิจ(English for Business Presentation)ในภาคเรียนที่2/2563 มาพัฒนาต่อยอดและนำไปเป็นองค์ความรู้ในการบริการวิชาการแก่สังคม เปลี่ยนชุมชนให้เป็นห้องเรียน อันได้แก่โรงเรียนวัดช่างเคี่ยน และวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้นักศึกษาได้รับการพัฒนาทักษะชีวิตให้มีความยืดหยุ่นและการปรับตัว มีการริเริ่มสร้างสรรค์ เรียนรู้ทักษะสังคม สร้างภาวะผู้นำ และให้มีความรับผิดชอบเชื่อถือได้ เป็นผลงานบูรณาการพันธกิจด้านบริการวิชาการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย และส่งเสริมพัฒนามหาวิทยาลัยให้มีศักยภาพด้านบริการวิชาการเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน สังคมนอกจากนี้ยังสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชน 
 

 

 [[บทความแนวปฏิบัติที่ดี 2564]] ด้านการผลิตบัณฑิต - การบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ (Hands-on)

 







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon