โลโก้เว็บไซต์ ราชมงคลล้านนา เดินหน้า สร้างผู้ประกอบการ SMEs กลุ่ม Start – up พัฒนาเศรษฐกิจประเทศ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

ราชมงคลล้านนา เดินหน้า สร้างผู้ประกอบการ SMEs กลุ่ม Start – up พัฒนาเศรษฐกิจประเทศ

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 10 มีนาคม 2559 โดย นริศรา สกุลสอน จำนวนผู้เข้าชม 806 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

        มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ล้านนา  พร้อมเปิดตัวโครงการสร้างผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Start Up) โดยร่วมมือกับ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว. หรือ SME BANK) และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย มีเป้าหมายเพื่อสร้างเอสเอ็มอีที่มีนวัตกรรมจำนวน 10‚000 ราย ทั่วประเทศ ภายในระยะเวลา 3 ปี (2559- 2561) เน้นกลุ่มเป้าหมายคนรุ่นใหม่ที่พึ่งจบการศึกษา และ กลุ่ม SME ที่เริ่มทำกิจการได้ไม่เกิน 3 ปี โดยใช้กระบวนการบ่มเพาะทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ พร้อมทั้งสนับสนุนทางด้านการเงินแบบครบวงจร รศ.ดร.นำยุทธ สงค์ธนาพิทักษ์ อธิการบดี มทร.ล้านนา กล่าวว่า “โครงการนี้เป็นกิจกรรมที่สืบเนื่องจากเมื่อปลายปี 2558 โดยกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง ได้ลงนามความร่วมมือการสร้างผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Start-Up) ระหว่าง (สสว)  กับ (ธพว.) และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย โดยมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ นั้น ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่หรือกลุ่มที่เริ่มดำเนินธุรกิจ (Start-Up)จำนวน 10‚000 ราย ทั่วประเทศ ภายในปี พ.ศ.2561 ซึ่ง สสว.บูรณาการความร่วมมือ จากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องให้กับผู้ประกอบการ SMEs เพื่อพัฒนาให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กสามารถเติบโตเป็นผู้ประกอบการขนาดกลาง และผู้ประกอบการขนาดกลางสามารถเติบโตเป็นผู้ประกอบการธุรกิจขนาดใหญ่ได้ในอนาคตก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ และส่งผลดีต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน ในส่วนของมทร.ล้านนา นั้นจะเริ่มดำเนินการส่วนภาคเหนือซึ่งจะแบ่งออกเป็นเขตภาคเหนือตอนบนจำนวน 1‚200 รายและภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 800 ราย ระยะเวลาในการดำเนินการระหว่างเดือน มีนาคม – เดือนตุลาคม เน้นกลุ่มเป้าหมายเน้นกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นบัณฑิตที่พึ่งจบการศึกษา และกลุ่ม SME ที่เริ่มทำกิจการได้ไม่เกิน 3 ปี ”   โครงการสร้างผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Start Up) นี้ สสว.จะเป็นกลไกสำคัญที่จะขับเคลื่อนการพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ทั้งในภาคการผลิต ภาคการค้า ภาคบริการ และภาคเกษตรแปรรูป รวมถึงผู้ประกอบการในทุกๆ วงจรธุรกิจ ให้มีศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจประเทศให้กระจายตัวเพื่อสร้างฐานรายได้ให้สูงขึ้นอย่างมั่นคงและ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ทั้ง 9 แห่ง ซึ่งมีความพร้อมทางด้านสถานที่ เครื่องมือ อุปกรณ์ และบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์หลากหลายสาขาวิชาชีพ สามารถช่วยผู้ประกอบการรายใหม่ ให้นำแนวคิดและองค์ความรู้ด้านต่างๆ ที่เกิดจากผลงานวิจัยและพัฒนา มาสร้างให้เป็นสินค้าและบริการในเชิงพาณิชย์ได้ ส่วน SME BANK จะเปรียบเสมือนพี่เลี้ยงทางการเงิน ให้การสนับสนุน ผู้ประกอบการรายใหม่ด้วยการให้สินเชื่อหรือร่วมลงทุน และการหาช่องทางการตลาดให้  โดยจะพยายามจูงใจผู้ประกอบการใหม่ให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และเป็นสมาชิกของ สสว. ทั้งนี้ SME ที่เกิดใหม่มีข้อจำกัดในการขอสินเชื่อ  SME BANK และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ซึ่งมีสมาชิกอยู่กว่า 120 สมาคม ในทุกสาขาทั่วประเทศนั้น จะมีส่วนร่วมในการคัดคนรุ่นใหม่เข้าสู่กระบวนการบ่มเพาะ เมื่อจบหลักสูตรการบ่มเพาะ พร้อมจะเป็นผู้ประกอบการแล้ว สมาชิกของสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ซึ่งเป็นนักธุรกิจมืออาชีพจะมาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ให้แก่ผู้ประกอบการหน้าใหม่ พร้อมทั้งจะทำหน้าที่ “พี่เลี้ยง” ให้แก่ผู้ประกอบการใหม่ด้วย  ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดและลงทะเบียน ได้ที่ http://ubi.rmutl.ac.th/ หรือ ทางโทรศัพท์ 0 -5392 -1444 ต่อ 1943‚ 088 - 268 5991        
      





ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon