เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 21 กันยายน 2564 โดย นางสาวกิ่งกานต์ สาริวาท จำนวนผู้เข้าชม 1,255 คน
วันที่ 21 กันยายน 2564 งานคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย มอบ รถเข็นฆ่าเชื้อ UV-C Tralley ให้กับ หน่วยกู้ชีพทรายขาว เพื่อใช้ฆ่าเชื้อภายในรถรับ-ส่ง ผู้ป่วย โดยมี อาจารย์พิเชษฐ กันทะวัง อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์, อาจารย์ชนนพร ยะใจมั่น หัวหน้างานคลินิกเทคโนโลยี และบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย ร่วมมอบ ณ ที่ทำการหน่วยกู้ชีพทรายขาว
สำหรับ รถเข็นฆ่าเชื้อ UV-C Tralley เป็นรถเข็นที่นำหลอด UV-C Philips TUV T8 G13 30W ที่สามารถฆ่าเชื้อโรคที่เป็นแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อก่อโรคบางชนิด รวมทั้งสามารถฆ่าเชื้อไวรัสโควิด 2019 (COVID-19) ได้ ซึ่งอาจารย์พิเชษฐ กันทะวัง ได้ประดิษฐ์รถเข็นฆ่าเชื้อ UV-C Tralley ขึ้น เพื่อใช้สนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ โดยเริ่มแรกจากการนำสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ มอบให้โรงพยาบาลแม่ลาว เพื่อใช้ในการฆ่าเชื้อไวรัสโควิด 2019 ในบ้านดินซึ่งเป็นที่ที่ใช้กักตัวและรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโควิด 2019 ของจังหวัดเชียงราย ซึ่งได้ให้คำแนะนำในการใช้แสง UV-C และปริมาณของแสง UV-C ที่เหมาะสม, การปฏิบัตตัวเมื่อใช้แสง UV-C, ซึ่งหลังจากที่ได้นำ รถเข็นฆ่าเชื้อ UV-C Tralley นี้มอบให้โรงพยาบาลแม่ลาว ก็ได้มีหน่วยงานราชการติดต่อสอบถามเข้ามาขอข้อมูลและคำแนะนำในการผลิตรถเข็นฆ่าเชื้อ UV-C Tralley เป็นจำนวน มาก งานคลินิกเทคโนโลยีจึงได้เข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยส่งเสริมให้หน่วยงานต่างๆ ที่จำเป็นในการใช้รถเข็นฆ่าเชื้อ UV-C Tralley เช่น สถานพยาบาล, โรงเรียน, และสถานที่ที่มีผู้คนอยู่มาก ได้มีรถเข็นฆ่าเชื้อ UV-C Tralley เพื่อใช้ในการฆ่าเชื้อไวรัสโควิด 2019 เพื่อเป็นการช่วยยับยังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 2019 อีกด้วย
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา