โลโก้เว็บไซต์ สทอภ.องค์การมหาชน เข้าร่วมหารือความร่วมมือด้านวิชาการและส่งเสริมการใช้ประโยชน์ด้านเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศร่วมกัน | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

สทอภ.องค์การมหาชน เข้าร่วมหารือความร่วมมือด้านวิชาการและส่งเสริมการใช้ประโยชน์ด้านเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศร่วมกัน

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 17 มกราคม 2565 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 2,764 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

     วันที่ 17 มกราคม 2564 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.)ล้านนา ให้การต้อนรับและประชุมหารือความร่วมมือทางวิชาการ และการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ด้านเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศ กับผู้แทนจากสำนักพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทอภ.  ณ ห้องประชุมหิรัญญิการ์ อาคารอำนวยการ มทร.ล้านนา เชียงใหม่ ถ.ห้วยแก้ว เพื่อหาแนวทางการสนับสนุนทรัพยากรด้านต่างๆของมหาวิทยาลัยในการติดตั้งสถานีรับสัญญาณดาวเทียมภายใต้โครงการ “System and Service for Satellite Ephemeris Estimation”  ณ มทร.ล้านนา ดอยสะเก็ด ให้กับ สทอภ. เพื่อติดตามรายงานสถานการณ์ปริมาณฝุ่น PM 2.5 และระบบติดตามภัยพิบัติ ไฟป่า เหตุอทกภัย ภัยแล้ง  ควบคู่กับการสนับสนุนองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ จาก สทอภ. ให้กับคณาจารย์และนักศึกษาที่สนใจ พร้อมทั้งส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา เพื่อสร้างงานวิจัยร่วมกัน

      ซึ่งสำนักพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทอภ.  เป็นหน่วยงานของรัฐในรูปแบบองค์การมหาชน ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม(อว.) รับผิดชอบการบริหารดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของประเทศไทย ที่มีชื่อว่า ดาวเทียมไทยโชต และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศทั้งที่มีอยู่และที่ได้จากการศึกษา ค้นคว้า สร้างงานวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม มาประยุกต์ใช้ตามนโยบายและภารกิจที่สำคัญของประเทศ เพื่อสร้างความมั่งคง มั่งคั่ง และยั่งยืนให้กับชุมชน สังคม และประเทศชาติในฐานะที่เป็นองค์กรเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศแห่งเดียวในประเทศไทย เพื่อตอบสนองการตัดสินใจเชิงนโยบายระดับชาติด้วยการสร้างเอกลักษณ์และความแตกต่าง (Unique and differentiate) โดยใช้นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์เป็นตัวนำบนฐานของเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เพื่อการขับเคลื่อนประเทศอย่างมีทิศทางและยั่งยืน ประกอบด้วย 4 มิติหลักที่สำคัญ ได้แก่ มิติด้านการเกษตรเชิงพื้นที่ มิติด้านสังคมและทรัพยากร มิติด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม และมิติด้านการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ  







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon