โลโก้เว็บไซต์ หลอดดูดธรรมชาติจากต้นข้าวสาลี ผลงานวิจัย มทร.ล้านนา ลำปาง คว้า 3 รางวัล ในเวทีการประกวดระดับนานาชาติ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

หลอดดูดธรรมชาติจากต้นข้าวสาลี ผลงานวิจัย มทร.ล้านนา ลำปาง คว้า 3 รางวัล ในเวทีการประกวดระดับนานาชาติ

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 24 พฤษภาคม 2566 โดย จารุวรรณ สุยะ จำนวนผู้เข้าชม 6,465 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

          ดร.สุรพล ใจวงศ์ษา อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร และนายมาโนช คุ้มพนาลัยสถิต นักวิจัย จากหน่วยวิจัยและพัฒนาด้านการบริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง พร้อมสมาคมส่งเสริมนวัตกรรมและการประดิษฐ์ไทย (Association of Thai Innovation and Invention Promotion) ได้นำ 1 ผลงานนวัตกรรมของกลุ่มนักวิจัยในโครงการ “การพัฒนาธัญพืชเมืองหนาวสำหรับการผลิตบนพื้นที่สูงในภาคเหนือของประเทศไทย” ที่ได้รับการสนับานุนงบประมาณจาก สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) เข้าร่วมการประกวดผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม ในงาน European Exhibition of Creativity and Innovation 2023 ซึ่งในงานดังกล่าวมีการจัดแสดงผลงานนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์มากกว่า 600 ผลงาน จาก 40 ประเทศ ระหว่างวันที่ 11-13 พฤษภาคม 2566 ณ เมืองยาช (Iasi) ประเทศโรมาเนีย (Romania) 
        สำหรับผลงานนวัตกรรม Lanna Natural Straw (หลอดดูดธรรมชาติจากต้นข้าวสาลี) ได้รับ 3 รางวัล ประกอบด้วย
         1. รางวัล GOLD MEDAL จากเวทีการประกวดผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมในเวทีนานาชาติ EUROINVENT
        2. รางวัล Diploma of Excellence Gold Medal จาก TECHNICAL UNIVERSITY OF CLUJ-NAPOCA ROMANIA
        3. รางวัล Excellence Award จาก GRIGORE T.POPA UNIVERSITY OF MEDICINE AND PHARMACYIASI
        ผลงานนวัตกรรมดังกล่าวเป็นการนำเอาของเหลือใช้จากการผลิตข้าวสาลีในประเทศไทย มาใช้ทดแทนพลาสติกในการทำหลอดดูดและก้าน Cotton Bud เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและลดปัญหาโลกร้อนที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน อีกทั้งสร้างอาชีพเสริมให้กับเกษตรกรในพื้นที่อีกด้วย
        ข่าว / ภาพ : มาโนช  คุ้มพนาลัยสถิต
 







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon