เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 8 สิงหาคม 2566 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 1,238 คน
วันที่ 7 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมกาสะลอง ชั้น 2 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.)ล้านนา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดี กล่าวต้อนรับและร่วมหารือกับคณะศึกษาดูงานจากมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต นำโดย ดร.บุญศุภภะ ตัณฑัยย์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารพันธกิจสัมพันธ์ ในโอกาสเดินทางเข้าศึกษาดูงานการบริหารจัดการและแนวทางการจัดการงบประมาณ การจัดการทรัพยากรบุคลคล เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี ในการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน ท้องถิ่น สังคมอย่างยั่งยืน โดยมีคณะผู้บริหาร มทร.ล้านนา ร่วมให้ข้อมูลและตอบข้อซักถามแก่คณะศึกษาดูงาน
ผศ.ดร.จัตตุฤทธิ์ กล่วว่า “มทร.ล้านนา ได้ก่อเกิดจากการหล่อมรวมสถาบันการศึกษา ที่มีความโดดเด่นในการจัดการเรียนการสอนด้านอาชีพทางวิศวกรรม เกษตรกรรม ศิลปกรรม และบริหารธุรกิจ ในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคเหนือ เป็น 1 ใน 9 ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชามงคล 9 แห่ง ทั่วประเทศ บริหารจัดการภายใต้ พรบ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พ.ศ.2548 และจัดอยู่ในประเภทที่ 1 : ไม่มีวิทยาเขตแต่จัดเป็นเขตพื้นที่การศึกษา คณะอยู่ที่ส่วนกลางและไม่มีภาควิชา มทร.ล้านา ได้ก้าวผ่านความท้ายทายและการเปลี่ยนแปลงในแต่ละยุกได้ด้วยแนวคิดที่ว่า ปัญหาอุปสรรค วิกฤต คือโอกาส เพื่อการเปลี่ยนแปลง คิดในเชิงบก สร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาองค์กร ดังนั้นทำอย่างไรให้คนในองค์กรเข้าใจ เข้าถึงข้อมูล เพื่อคิดร่วมกันในการพัฒนาไปสู่เป้าหมาย คิดต่างๆ เห็นต่าง ไม่ใช่ความแตกแยก แต่เป็นการคิดรอบด้าน หาจุดร่วม เพื่อเป้าหมายสู่ความสำเร็จ โดยได้มีการปรับเปลี่ยนโครงการการบริหารส่วนราชการแบบใหม่ที่มุ่งเน้นกระจายอำนาจและลดความซ้ำซ้อนจากเดิมมี 12 คณะ 12 สำนัก 1 สถาบัน และ 1 วิทยาลัย ให้คงเหลือ 4 คณะ 8 สำนัก 1 สถาบัน และ 1 วิทยาลัย จึงทำให้การบริหารจัดการด้านกำลังคน งบประมาณ เกิดความคล่องตัวและยังสอดคล้องกับเงินงบประมาณที่ได้รับหน่วยงานต่างๆของภาครัฐ นอกจากนี้ มทร.ล้านนา ยังได้วางแนวทางในการบริหารทรัพยากรที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นผลงานออกแบบนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ งานวิจัย หรือแม้แต่ที่ดินสิ่งปลูกสร้างของมหาวิทยาลัยให้มีการต่อยอดสู่การนำมาซึ่งรายได้เข้าสู่มหาวิทยาลัย ตัวอาจารย์ และนักศึกษาอีกทางหนึ่ง ทั้งนี้ยังปรับรูปแบบการบริหารจัดการงานฟาร์มให้อยู่ในรูปแบบเพื่อการฝึกหัดนักศึกษา และรูปแบบของธุรกิจ พร้อมทั้งสนับสนุนส่งเสริมปัจจัยด้านต่างๆ ให้นักศึกษาที่มีความสนใจเข้าสู่การเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ หรือ Start UP”
ทั้งนี้ สำนักวิทยบริการได้นำเสนอการทำงานผ่านระบบ e-office และระบบฐานข้อมูลบุคลากรของมหาวิทยาลัย ที่ถูกออกแบบและพัฒนาโดยทีมงานของสำนักฯ ซึ่งได้รับความสนใจจากบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตเป็นอย่างมาก
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา