โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา ร่วมกับ ธนาคารออมสิน ภาค 8 ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินโครงการผลิตภัณฑ์ล้านนาพร้อมปรุง อ.พร้าว ต.เขื่อนผาก อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ โครงการย่อยภายใต้ โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น (มทร.ล้านนา) ประจำปี 2566 | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

มทร.ล้านนา ร่วมกับ ธนาคารออมสิน ภาค 8 ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินโครงการผลิตภัณฑ์ล้านนาพร้อมปรุง อ.พร้าว ต.เขื่อนผาก อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ โครงการย่อยภายใต้ โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น (มทร.ล้านนา) ประจำปี 2566

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 5 กันยายน 2566 โดย รัตนาภรณ์ สารภี จำนวนผู้เข้าชม 1,508 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

 

วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2566 บุคลากรสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ซึ่งเป็นคณะกรรมการดำเนินงานโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ประจำปี พ.ศ. 2566 ร่วมกับ นายนิรุทธ์ พุทธิ หน่วยพัฒนาสังคมและชุมชน ธนาคารออมสินภาค 8 พร้อมด้วยทีมงาน ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น โครงการพัฒนา “ผลิตภัณฑ์ล้านนาพร้อมปรุง” โครงการย่อยภายใต้ โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น (มทร.ล้านนา) ประจำปี พ.ศ. 2566 ของ ทีม Fynn(ฟินน์) ในการนำเสนอแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกน้ำปูผงวิสาหกิจชุมชนเขื่อนผาก ด้วยการบอกเล่าเรื่องราว (storytelling) ความเป็นมาและคุณภาพของผลิตภัณฑ์น้ำพริกน้ำปูผงโดยใช้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ รวมถึงการขยายแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อส่งเสริม และประชาสัมพันธ์การตลาดให้ผลิตภัณฑ์น้ำพริกน้ำปูผงสู่ตลาดทั้งในพื้นที่/นอกพื้นที่ และตลาดสากล โดยมีตัวแทนจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปูนาชุมชนเขื่อนผาก ร่วมให้การต้อนรับ และสาธิตกระบวนการผลิตภัณฑ์แปรรูปผลิตภัณฑ์จากปูนาโดยสมาชิกของกลุ่มฯ


โครงการพัฒนา “ผลิตภัณฑ์ล้านนาพร้อมปรุง” เป็นโครงการย่อยภายใต้ โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น (มทร.ล้านนา) ประจำปี พ.ศ. 2566 มีระยะเวลาดำเนินกิจกรรม ระหว่างเดือน เมษายน - กันยายน พ.ศ. 2566 ของทีม Fynn(ฟินน์) ประกอบด้วย นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จำนวน 10 คน ลงพื้นที่เรียนรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มวิสาหกิจแปรรูปน้ำปู๋ ตำบลเขื่อนผาก อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ให้ได้รับมาตรฐาน สามารถจำหน่ายในตลาดที่เป็นมาตรฐานสากลมากขึ้น รวมถึงการส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ และส่งเสริมการทำบัญชีรับจ่ายในครอบครัวเพื่อเรียนรู้การบริหารจัดการด้านการเงิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเรียนรู้การทำงานร่วมกัน ซึ่งก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกลุ่มชุมชน และธนาคารออมสิน ตลอดจนการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง สร้างเสริมประสบการณ์ในการเรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานต่อยอดความรู้ปัญญาท้องถิ่น เป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพตนเอง เมื่อออกสู่ตลาดแรงงานอันนำไปสู่การสร้างความมั่นคงของมาตรฐานสังคมจากพื้นฐานความเข้าใจของคนรุ่นใหม่ โดยมี นางบุณิกา คุณยศยิ่ง อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์  และคณะ เป็นอาจารย์พี่เลี้ยงประจำกลุ่ม


ข้อมูล/ภาพ คณะกรรมการดำเนินงานโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ประจำปี พ.ศ. 2566
 







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon