เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 5 กันยายน 2566 โดย วรรธนพงศ์ เทียนนิมิต จำนวนผู้เข้าชม 486 คน
วันที่ 5 กันยายน พ.ศ.2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรจักร์ เมืองใจ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นประธานในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรายงานความก้าวหน้าระยะ 6 เดือน การดำเนินงานโครงการวิจัย “ลมหายใจเชิงดอย : การเพิ่มประสิทธิภาพกลไกการทำงานให้บริการสาธารณะเพื่อส่งเสริมสุขภาวะประชาชนของเครือข่ายเทศบาลลุ่มน้ำแม่กวงด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มการเตือนภัยจุดที่มีความร้อน” โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีระศักดิ์ สมศักดิ์ เป็นหัวหน้าโครงการ ต่อภาคีเครือข่าย กล่าวรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและรับฟังข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานโครงการ ณ ห้องประชุมสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตำบลป่าป้อง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
การจัดกิจกรรมดังกล่าว ได้รับความร่วมมือการเข้าร่วมประชุมจากผู้ใช้ประโยชน์จากโครงการวิจัยประกอบด้วย เทศบาลตำบลเชิงดอย และเครือข่ายเทศบาลลุ่มน้ำแม่กวงประกอบด้วย เทศบาลตำบลลวงเหนือ เทศบาลตำบลป่าเมี่ยง เทศบาลตำบลป่าป้อง และเทศบาลตำบลแม่โป่ง รวมถึงโรงเรียนดอยสะเก็ดผดุงศาสน์ (วัดปทุมสราราม) และหน่วยงานที่มีบทบาทหลักในการจัดการไฟป่า ได้แก่ ปลัดอำเภอดอยสะเก็ด, อุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ อ.ดอยสะเก็ด, สถานีควบคุมไฟป่าห้วยฮ่องไคร้-ขุนแม่กวง, โครงการพัฒนาพื้นที่ป่าขุนแม่กวงอันเนื่องมาจากพระราชดำริสํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่), สมาคมภูมินิเวศพัฒนาอย่างยั่งยืน, เครือข่ายอนุรักษ์ลุ่มน้ำแม่กวง
โครงการวิจัย ลมหายใจเชิงดอย : การเพิ่มประสิทธิภาพกลไกการทำงานให้บริการสาธารณะเพื่อส่งเสริมสุขภาวะประชาชนของเครือข่ายเทศบาลลุ่มน้ำแม่กวงด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มการเตือนภัยจุดที่มีความร้อน” ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้และศักยภาพการจัดการพื้นที่ไฟป่าสำหรับส่งเสริมสุขภาวะประชาชนของเครือข่ายเทศบาลตำบลในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำกวง พัฒนาระบบปฏิบัติการด้านการการเตือนภัยจุดที่มีความร้อนในพื้นที่ให้บริการของเทศบาลตำบลลุ่มน้ำแม่กวง และเพื่อขับเคลื่อนระบบและกลไกการจัดการการให้บริการสาธารณะในพื้นที่เทศบาลลุ่มน้ำแม่กวงอย่างมีส่วนร่วม
เรียบเรียง/ ภาพ : นายสุริยนต์ สูงคำ สถาบันวิจัยและพัฒนา
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา