โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา MOU สหกรณ์เชียงใหม่ และ สหกรณ์การเกษตรจอมทอง เดินหน้างานวิจัยและพัฒนาศักยภาพสหกรณ์การเกษตรจอมทอง | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

มทร.ล้านนา MOU สหกรณ์เชียงใหม่ และ สหกรณ์การเกษตรจอมทอง เดินหน้างานวิจัยและพัฒนาศักยภาพสหกรณ์การเกษตรจอมทอง

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 21 พฤศจิกายน 2566 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 2,112 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

  มทร.ล้านนา MOU สหกรณ์เชียงใหม่ และ สหกรณ์การเกษตรจอมทอง เดินหน้างานวิจัยและพัฒนาศักยภาพสมาชิกสหกรณ์
ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่เป้าหมายให้เกิดความยั่งยืน สอดคล้องกับแนวคิด "กินได้ ขายได้ ใช้ได้ อยู่ได้" ของ ผศ. ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน  ภายใต้แนวทางการดำเนินงานตามศาสตร์พระราชา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

   วันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.30 น. ณ  แปลงลำไยคุณภาพสมาชิกสหกรณ์การเกษตรจอมทอง จำกัด ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพร พัชรประกิติ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยงานวิจัยและพัฒนาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพสหกรณ์การเกษตรจอมทอง จำกัด ระหว่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ และ สหกรณ์การเกษตรจอมทอง จำกัด โดยมีนางสาวกมลวรรณ นุชัย สหกรณ์จังหวัดเชียงใหม่ นายธีระทรัพย์ วงศ์ยุพล ประธานกรรมการ สหกรณ์การเกษตรจองทอง จำกัด ร่วมลงนาม โดยมีนายคำรณ พวงมณี ผศ.ดร.ณรงค์ศักดิ์ จักรกรณ์ ที่ปรึกษาสหกรณ์ พร้อมด้วยทีมนักวิจัยจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ล้านนา  สถาบันวิจัยเกษตร มทร.ล้านนา ศูนย์พัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาชีพและเทคโนโลยี คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มทร.ล้านนา เครือข่ายนักวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้  และสมาชิกสหกรณ์การเกษตรจอมทองจำกัดเข้าร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนาม

   การลงนามความร่วมมือว่าด้วยงานวิจัยและพัฒนาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพสหกรณ์การเกษตรจอมทอง จำกัด มีหลักการสำคัญคือการเพิ่มมูลค่าผลผลิตลำไยในพื้นที่จอมทอง-ดอยหล่อ ด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตและปัญหาหนี้สินเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์การเกษตรจอมทอง จำกัด โดยเน้นการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนในเรื่องการพัฒนาศักยภาพของคน พัฒนาระบบ และกลไกของชุมชนให้มีทักษะ ความรู้ และความสามารถในด้านการบริหารจัดการที่ดี การจัดระบบข้อมูล และองค์ความรู้ของงานวิจัยเพื่อพัฒนาและสื่อสารงานพัฒนาชุมชนในด้านต่าง ๆ รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยด้านการให้บริการวิชาการที่มุ่งเน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพร พัชรประกิติ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กล่าวว่า “บทบาทที่สำคัญของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา คือ มหาวิทยาลัยชั้นนำด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี ในการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน ท้องถิ่น สังคมอย่างยั่งยืนที่นำสู่การแก้ปัญหาที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ การเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในจัดการตนเอง สนับสนุนการวิจัยตามความต้องการในพื้นที่ โดยเน้นการวิจัยและการบริการวิชาการที่ตอบโจทย์ความต้องการและแก้ปัญหาของชุมชนอย่างเป็นรูปรูปธรรม เกิดการสร้างคุณค่าและมูลค่าเชิงพาณิชย์ โดยบูรณาการกับการเรียนการสอนในแต่ละคณะวิชา เพื่อให้อาจารย์ได้สอน นักศึกษาได้เรียนรู้ ได้ปฏิบัติ สังคมชุมชนได้ประโยชน์ มีการทำงานร่วมกันในรูปแบบของภาคีเครือข่ายจากทุกภาคส่วน ที่จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในพื้นที่เป้าหมายให้เกิดความยั่งยืน สอดคล้องกับแนวคิด "กินได้ ใช้ได้ ขายได้ อยู่ได้" ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทอปปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และน้อมนำศาสตร์พระราชา เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม








ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon