เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 22 ธันวาคม 2566 โดย วรรธนพงศ์ เทียนนิมิต จำนวนผู้เข้าชม 718 คน
วันที่ 21 ธันวาคม 2566 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ผนึกกำลังมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ร่วมจัดนิทรรศการแสดงผลงานวิจัย นวัตกรจิตอาสา เครือข่ายราชมงคล สร้างนวัตกรรมในชุมชน ช่วยเกษตรกรในการเพิ่มผลผลิต โดยนำเสนอ การส่งเสริมสร้างนวัตกรรม โดยใช้เทคโนโลยีชั้นสูงเข้ามา ผลิตนักศึกษาเป็นนวัตกร เกิดการสร้างนวัตกรรม นักสร้าง นักคิด ผลิตสู่ชุมชน วิสาหกิจชุมชน และเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมและพลิกเศรษฐกิจประเทศ ทั้งนี้รองศาสตราจารย์ ดร.ประมุข อุณหเลขกะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ พร้อมคณะผู้บริหารให้เกียรติเยี่ยมชมนิทรรศการแสดงผลงาน โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้นำผลงานนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ มาจัดแสดง ได้แก่
1. น้ำปูกึ่งสำเร็จรูปเพียงเติมน้ำหรือโรยบนอาหาร จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลเขื่อนผาก อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ Best of the Best ประเภทกินดี ภายใต้โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2566 ระดับประเทศ โดยมีกลุ่มนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ และอาจาร์ลมัย ผัสดี เป็นอาจารย์พี่เลี้ยง ได้ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ล้านนาพร้อมปรุง พัฒนาน้ำปูกึ่งสำเร็จรูปเพียงเติมน้ำหรือโรยบนอาหาร พร้อมทั้งยกระดับมาตรฐานของสินค้าให้ถูกสุขลักษณะ สะอาด ปลอดภัยก่อนถึงมือผู้บริโภค และยังสามารถเก็บไว้ได้นาน ปราศจากเชื้อรา รวมถึงการส่งเสริมให้ได้รับมาตรฐานอาหารและยา (อย.) และการสร้างความร่วมมือกับองค์กรเอกชนในการทำ OEM หลังจากการพัฒนาของนักศึกษาทำกลุ่มชุมชนให้มียอดขายเพิ่มขึ้น
2. เทคโนโลยีดิจิทัลแผลตฟอร์มการเตือนภัยจุดที่มีความร้อน อุปกรณ์ระบบเซนเซอร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นการแจ้งเตือนและรู้พิกัดไฟป่า ร่วมกับเทศบาลตำบลเชิงดอย และภาคีเครือข่ายลุ่มน้ำแม่กวงตอนบน โดยมีคณะนักวิจัย นักศึกษา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีระศักดิ์ สมศักดิ์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา หัวหน้าทีมวิจัยลมหายใจเชิงดอย ทั้งนี้อุปกรณ์ดังกล่าวจะช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าไปดับเพลิงได้ทันควบคุมการลามของไฟป่าได้ รวมถึงเป็นการลดปัญหาหมอกควัน และฝุ่นละออง PM2.5 อันเกิดจากไฟป่า และการปฏิบัติการดังกล่าวจะเป็นไปเพื่อให้เกิดกลไกการเฝ้าระวังจุดที่มีความร้อน (Hotspot) ในพื้นที่ตำบลเชิงดอยและพื้นที่เครือข่ายลุ่มแม่น้ำกวงตอนบน ของเทศบาลตำบลเชิงดอยและเทศบาลในเครือข่าย เพื่อเป็นการขับเคลื่อนการทำงานร่วมกันและเป็นไปเพื่อแก้ไขปัญหาไฟป่าในพื้นที่
3. ปัญญาประดิษฐ์ (Robotics & AI) หุ่นยนต์ไข่ต้ม (KAITOMM) บริษัท โอโบดรอยด์ คอร์ปอเรชั่น บริษัทพัฒนาหุ่นยนต์และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน ผนึกกำลังสร้างความร่วมมือด้านวิชาการร่วมกับมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนรู้เพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้านการฟัง พูด ภาษาไทย ของเด็กและนักเรียน ในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับและลดความเหลื่อมล้ำของเด็กและนักเรียน พร้อมขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ชุมชนสังคมและประเทศ บูรณาการวิจัยร่วมกับการเรียนการสอน เพื่อสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
งานเกษตรแม่โจ้ 90 ปี เกษตร อาหาร สุขภาพ มีการจัดแสดงผลงานทางด้านวิชาการ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและเป็นการบูรณาการร่วมกันระหว่างเครือข่ายเพื่อสร้างความเข้มแข็งในและต่างประทเศ โดยจัดแสดงระหว่างวันที่ 16 – 24 ธันวาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา