เผยแพร่เมื่อ : อาทิตย์ 28 มกราคม 2567 โดย วรรธนพงศ์ เทียนนิมิต จำนวนผู้เข้าชม 623 คน
วันที่ 27 มกราคม 2567 ณ ศูนย์วิจัยระบบพลังงานสะอาด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ดอยสะเก็ด ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรจักร์ เมืองใจ ผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน พร้อมนักวิจัย ศูนย์วิจัยระบบพลังงานสะอาด มทร.ล้านนา ให้การต้อนรับ รองศาสตราจารย์สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รองศาสตราจารย์ศักรินทร์ ภูมิรัตน ที่ปรึกษามหาวิทยาลัย พร้อมคณะผู้บริหาร และคณะนักวิชาการ เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัยระบบพลังงานสะอาด โอกาสนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรจักร์ เมืองใจ นำเสนอการดำเนินงานด้านวิจัยพร้อมบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยฯ เพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยน ศึกษา ค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานสะอาด ประกอบด้วย 1.ระบบสูบน้ำโซลาร์เซลล์แบบเคลื่อนที่ได้สำหรับเกษตรกร 2.ระบบโรงเรือนปลูกพืชอัจฉริยะ 3.ระบบควบคุมการจ่ายไฟเพื่อลดค่า peak demand ระบบไฟฟ้าในอุตสาหกรรม
จากนั้นได้เยี่ยมชมหน่วยวิจัยนวัตกรรมและทดสอบผลิตภัณฑ์งานระบบขนส่งทางรางศูนย์เป็นเลิศทางวิชาชีพและเทคโนโลยี โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์แมน ตุ้ยแพร่ หัวหน้าหน่วยให้การต้อนรับและนำเสนอการดำเนินงานด้านวิจัยพร้อมบริการวิชาการ โดยมีภารกิจในการทดสอบผลิตภัณฑ์ในระบบราง การเชื่อมซ่อมแผลล้อดิ้นบนสันรางด้วยวิศวกรรมการเชื่อม และการพัฒนาและสร้างเครื่องทดสอบการต้านทานความล้าของรอยเชื่อมรางรถไฟแบบล้อผ่าน การศึกษากระบวนการพ่นพอกด้วยความร้อนแบบ HVOF เพื่อประยุกต์สำหรับสร้างผิวพ่นพอกและการซ่อมแซมชิ้นส่วนที่สึกหรอในงานระบบ ซึ่งนับเป็นหน่วยวิจัยที่มีความสามารถ และมีความเชี่ยวชาญสูง เพื่อที่จะพัฒนาไปสู่ความสามารถของประเทศ ในการลดการนำเข้าชิ้นส่วนระบรางจากต่างประเทศ
ส่วนในภาคบ่ายเป็นการลงพื้นที่เยี่ยมชมและติดตามงานการให้บริการวิชาการระหว่าง มจธ. และมทร.ล้านนา ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงตีนตก ตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายอลงกต สัมฤทธิ์ หัวหน้าศูนย์ฯ ให้การต้อนรับและนำเสนอการดำเนินงานระหว่าง มทร.ล้านนา และมจธ. ที่ร่วมกันให้บริการวิชาการ ประกอบด้วย 1.การย้ายและติดตั้งเครื่องคัดคุณภาพกาแฟ สำหรับ 8 กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผลผลิตกาแฟกะลาประมาณ 350 ตัน มูลค่ากว่า 50 ล้านบาท 2.การจัดทำแผนปฏิบัติการสำหรับศูนย์ฯ ตีนตก และแผนแม่บทการพัฒนาหมู่บ้านเป้าหมายในความดูแลของศูนย์ฯ ตีนตก 3.การออกแบบภูมิทัศน์ ศูนย์เรียนรู้กาแฟ (พื้นที่ 85 ไร่) บ้านพักรับรองและบ้านพักเจ้าหน้าที่ 4.การออกแบบโรงเรือนปลูกพืชปราณีต โรงคัดบรรจุและห้องเย็น
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา