เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 20 มิถุนายน 2567 โดย วรวัฒน์ รัมพณีนิล จำนวนผู้เข้าชม 399 คน
วันที่ 17-18 มิถุนายน 2567 สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง จัดโครงการ ‘เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนปฏิบัติการโครงงานวิทยาศาสตร์’ มีนักเรียนระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 สายการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ เข้าร่วมโครงการ
ในวันที่ 17 มิถุนายน 2567 นักเรียนได้เข้ารับการฝึกอบรมที่สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร โดยมี ผศ.ดร.อภิชาติ ชิดบุรี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร กล่าวต้อนรับคณะครู และนักเรียนจากโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง และ นางสาวจิรา หล้าจันทร์วงศ์ หัวหน้างานฝึกประสบการณ์เป็นผู้ประสานงานในการฝึกอบรมในครั้งนี้
โดยการฝึกอบรมแบ่งเป็นทั้งหมด 3 ฐาน ประกอบด้วย
1.ฐานโครงงานวิทยาศาสตร์กายภาพ : ฐานวิทยาศาสตร์การอาหาร โดยมีวิทยากรคือ ผศ.ดร.นิอร โฉมศรี ผศ.ดร.จิรภา พงษ์จันตา ดร.พยุงศักดิ์ มะโนชัย คุณวริยา ชาญฤทธิเสน คุณปัทมา ไทยอู่ และคณะ
2.ฐานโครงงานวิทยศาสตร์ชีวภาพ : ฐานการปลูกไร้ดินไมโคร-นาโน บับเบิล การพัฒนาพันธุ์พืช ไบโอรีแอค-เตอร์ และลูกบอลปักชำ โดยมีวิทยากรคือ รศ.ดร.ชิติ ศรีตนทิพย์ คณะนักวิจัย และผู้ช่วยนักวิจัย
3.ฐานโครงงานวิทยาศาสตร์สิ่งประดิษฐ์ : ฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ โดยมีวิทยากรคือ ผศ.อำนาจ ผัดวัง อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนาลำปาง
หลังจาคณะครูและนักเรียนเข้าฝึกอบรมครบทั้ง 3 ฐานแล้ว ยังมีการทบทวนความรู้ร่วมกันโดย อาจารย์พิทักษ์ พุทธวรชัย เป็นผู้สรุป ในวันที่ 18 มิถุนายน 2567 ผศ.ดร.อภิชาติ ชิดบุรี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร พร้อมด้วยคณะอาจารย์ นักวิจัย เดินทางไปให้ความรู้ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 ณ โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง โดยมี ภารดา ดร.เสกสรร สกนธวัฒน์ หัวหน้ากลุ่มสาระฯให้การต้อนรับ ในครั้งนี้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ในหัวข้อ “ทำไมต้องทำโครงงานวิทยาศาสตร์,ขั้นตอนการปฏิบัติการโครงงานวิทยศาสตร์ และการนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์” ทีทีมวิทยากรนำโดย ผศ.ดร.อภิชาติ ชิดบุรี ผศ.พงศ์ยุทธ นวลบุญเรือง รศ.ดร.ชิติ ศรีตนทิพย์ อ.ศิริพร อ่ำทอง พร้อมคณะนักวิจัย และในช่วงท้ายของการแลกเปลี่ยนความรู้ มีการสรุปและทบทวนความรู้โดย อาจารย์พิทักษ์ พุทธวรชัย ซึ่งกิจกรรมทั้งสองวันมีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั้งยืน SDG 4 เป็นการสร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียมและสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิตได้อีกด้วย
ข้อมูลจาก ดร.พยุงศักดิ์ มะโนชัย และคุณณัฐลภัส เกตุดี
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา