เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 2 กรกฎาคม 2567 โดย วรวัฒน์ รัมพณีนิล จำนวนผู้เข้าชม 479 คน
วันพุธที่ 26 มิถุนายน 2567 คณะวิจัย สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มทร.ล้านนา ตำบลพิชัย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง จัดกิจกรรมการถอดบทเรียนงานวิจัย “ห่วงโซ่คุณค่าสินค้าเกษตรลำปาง นครแห่งความสุข (คน-ความรู้-เครือข่าย-แก้จน)” ภายใต้โครงการวิจัย เรื่อง กระบวนการมีส่วนร่วมยกระดับสินค้าเกษตรมูลค่าสูงด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อสร้างโอกาสและคุณค่าร่วมทางสังคมของคนจนเป้าหมายพื้นที่วิจัยจังหวัดลำปาง” ซึ่งได้รับสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริม ววน. และหน่วย บพท. และร่วมกับภาคีเครือข่าย มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง เกษตรจังหวัดลำปาง เกษตรอำเภอ และเกษตรกรในเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ทั้ง 13 อำเภอ ของจังหวัดลำปาง
กิจกรรมดังกล่าว “ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวุธ ชัยเนตร” ผู้อำนวยสำนักงานบริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง ให้เกียรติ์เป็นประธานเปิดกิจกรรม โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อภิชาติ ชิดบุรี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร กล่าวต้อนรับ
ในกิจกรรมนี้ นายชาญณรงค์ วิรุณสาร เกษตรจังหวัดลำปาง ได้บรรยายถึง นโยบายของสำนักงานเกษตรจังหวัด ในการร่วมขับเคลื่อนลดความยากจน จะนำไปสู่การวางแผนปฏิบัติการร่วมกันและหนุนเสริมพลังการดำเนินงานขับเคลื่อนงานวิจัยพื้นที่วิจัยเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Research Areas : SRA) จังหวัดลำปาง
กิจกรรมการถอดบทเรียนงานวิจัย “ห่วงโซ่คุณค่าสินค้าเกษตรลำปาง นครแห่งความสุข (คน-ความรู้-เครือข่าย-แก้จน) มีผู้ช่วยศาสตราจารย์ สันติ ช่างเจรจา หัวหน้าโครงการวิจัย และทีมนักวิจัยจากสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดลำปาง ทำงานร่วมกับ“ทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง” และ “หน่วยงานภาคเครือข่ายทุกภาคส่วนของจังหวัดลำปาง” ผลการดำเนินงานจากการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Technology) เข้ามาปรับประยุกต์ใช้ ตามวิถีชีวิต บนห่วงโซ่การผลิตพืช ข้าวและไผ่ ของจังหวัดลำปาง จนประสบผลสำเร็จในเชิงประจักษ์
กิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถอดบทเรียน บนกระบวนทัศน์แนวทางสร้างคุณค่าคนจน บนห่วงโซ่คุณค่าสินค้าเกษตรมูลค่าสูง จังหวัดลำปาง (คณะวิจัยโครงการ/ตัวแทนเกษตรกร/ข้าวทิพย์ช้าง/นวัตกรแก้จน) โดย นายสุริยนต์ คำสูง สถาบันวิจัยและพัฒนา (สวพ.) มทร.ล้านนา: ผู้ดำเนินรายการสรุปบทเรียน ขับเคลื่อนสู่การพัฒนาในโครงการ “กระบวนการมีส่วนร่วมประยุกต์ใช้และขยายผลเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อยกระดับมูลค่าเพิ่มบนห่วงโซ่คุณค่าสินค้าเกษตรและสร้างเครือข่ายธุรกิจยั่งยืนในจังหวัดลำปางและจังหวัดเชียงใหม่” เป็นแนวการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ข้อ 1.4 โครงการขจัดความยากจนในชุมชน ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา โดยมีส่วนร่วมในการพัฒนา สร้างโอกาส ยกระดับคุณภาพชีวิต และเสริมสร้างรายได้ ให้แก่เกษตรกรเป้าหมายในพื้นที่วิจัยของจังหวัดลำปาง ให้มีคุณภาพชีวิต มีความเป็นอยู่ที่ดี และมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น จากการประกอบอาชีพของตนเอง ภายใต้กิจกรรม การถอดบทเรียนงานวิจัย “ห่วงโซ่คุณค่าสินค้าเกษตรลำปาง นครแห่งความสุข (คน-ความรู้-เครือข่าย-แก้จน)”
ที่มา : ดร.พยุงศักดิ์ มะโนชัย ผู้ช่วยผู้อำนวยการงานด้านการพัฒนาองค์กร และสื่อสาร
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา