เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 2 ธันวาคม 2567 โดย นคร คำกิติ จำนวนผู้เข้าชม 83 คน
ระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.อุเทน คำน่าน รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (มทร.ล้านนา) มอบหมายให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนนท์ นำอิน รองอธิการบดี ฝ่ายวิชาการ วิจัยและบริการวิชาการ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.ทนงศักดิ์ สัสดีแพง รองคณบดีฝ่ายวิจัย นวัตกรรม และบริการวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ดร.ภาสินี ศิริประภา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ และนางสาวอารีวัณย์ อรุณสิทธิ์ นักบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยี เข้าร่วมการประชุม “Thailand’s Innovation Policy Week” ด้านการจัดการเทคโนโลยีและทรัพย์สินทางปัญญา หัวข้อ Association of IP and Technology Transfer Professionals (AITP)’s Business ณ ห้องประชุม Shang Hai โรงแรมสวิสโซเทล กรุงเทพ รัชดา โดยทั้งนี้มีการหารือกับที่ประชุมคณะกรรมการ AITP จากตัวแทนมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศไทย, ประธาน ATTP, รองประธานคณะกรรมการบริหารของ USIMP และวิทยากรรับเชิญจากอินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ โดยมี Prof. Fazilet Vardar Sukan จากมหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์อิซเมียร์ได้นำเสนอในที่ประชุมเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมจนประสบความสำเร็จและมีการตอบแทนคืนสังคมอย่างยั่งยืน
การประชุม “Thailand’s Innovation Policy Week” ด้านการจัดการเทคโนโลยีและทรัพย์สินทางปัญญาจัดโดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สมาคมวิชาชีพนักจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี (Association of Intellectual Property and Technology Transfer Professionals: AITP) องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization: WIPO) และสมาคมอนุญาตให้ใช้สิทธิประเทศไทย (Licensing Executives Society Thailand: LES Thailand) พร้อมด้วยหน่วยงานภาคีเครือข่าย ภายใต้โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ซึ่งเป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดการประชุม เพื่อเปิดตัวสมาคมวิชาชีพนักจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี (AITP) นำเสนอผลการศึกษา “Patent landscape ในสาขาเกษตรอาหาร ที่จัดทำโดยคณะผู้เชี่ยวชาญจาก WIPO และยังเป็นอีกโอกาสที่สมาคมอนุญาตให้ใช้สิทธิประเทศไทยมาร่วมจัดประชุมประจำปีภายใต้หัวข้อการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนโดยคำนึงถึง 3 ปัจจัยหลัก คือ ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมาภิบาล โดยมีรายละเอียดหัวข้อการสัมมนาดังนี้
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 Alliance of Technology Transfer Professionals (ATTP): Next steps with ASEAN โดยมี Alwin Wong, Ph.D., RTTP, Chair, Alliance of Technology Transfer Professionals (ATTP) เป็นผู้นำการสัมมนา ต่อด้วยหัวข้อ Shared highlights from the WIPO-AUTM International Knowledge Technology Transfer Leadership Summit 2024 (Cape Town, South Africa) โดยมี Orakanoke Phanraksa, Ph.D., Head, International Affairs, Thailand Science Research and Innovation (TSRI) เป็นผู้นำเสนอ จากนั้นจึงหารือในหัวข้อIntroduction of the AUTM-ASEAN International Strategic Committee และร่วมหารือต่อในหัวข้อ Roundtable discussion: the Collaborative approach to advance TLOs’ skill development for effective technology commercialization โดยมี Chalermpol Tuchinda, Chair, AUTM-ASEAN International Strategic Committee เป็นผู้นำ แล้วปิดท้ายด้วยการสัมมนาในหัวข้อ The Current stage of TLOs’ Performance Metrics: What matters? โดย Prof. Dr. Samsilah binti Roslan, RTTP, Director, Putra Science Park, Universiti Putra Malaysia
วันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 การสัมมนาแลกเปลี่ยนในหัวข้อ Introduction to patent information and patent analytics ต่อด้วยหัวข้อ A global overview of the patent landscape in Agrifood และหัวข้อ The Agrifood patent landscape – an ASEAN lens โดย Mr. Christopher Harrison ตำแหน่ง Patent Analytics Manager, IP and Innovation Ecosystems Sector, WIPO, Geneva, ประเทศ Switzerland เป็นผู้นำเสนอ ต่อด้วย ส่วนในช่วงบ่ายเป็นการสัมมนาในหัวข้อ Panel discussion: Sharing views and practice from the Thai Agrifood ซึ่งมีผู้แทนจากบริษัทชั้นนำด้านอาหาร เช่น CPF, น้ำตาลมิตรผล, และ Thai Union Group ถ่ายทอดประสบการณ์ โดยมี Asst. Prof. Dr. Suvaluk Asavasanti, Chair, the Strategic Agenda Team for Future Food Development, TSRI เป็นผู้นำการสัมมนา แล้วต่อด้วยการนำเสนอในหัวข้อ WIPO support for Innovators โดย Michael Mbogoro, Head, Technology Transfer Section, IP for Innovators Department, IP and Innovation Ecosystems Sector, WIPO, Geneva, Switzerland ตามด้วยการนำเสนอในหัวข้อ Next steps with WIPO โดย Mr. Christopher Harrison และปิดท้ายด้วยการ Introduction of IP and AI: Agriculture 4.0 in ASEAN โดย Mr. Ye Min Than, Senior Program Officer, Division for Asia and the Pacific, Department for Development Cooperation, Regional and National Development Sector, WIPO, Geneva, Switzerland – virtual presentation)
วันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 ในช่วงเช้า คุณวิกรานต์ ดวงมณี ประธานสมาคม ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย จำนวนสมาชิกของสมาคมในปัจจุบัน และแนะนำคณะกรรมการบริหาร Licensing Executives Society Thailand ประจำปี 2022-2024 จากนั้นทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยคุณพรรรัตน์ เพชรภักดี ผู้อำนวยการใหญ่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้บรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่อง ESG กับความท้าทายและโอกาสธุรกิจในยุคอนาคต ซึ่งเนื้อหาจะเกี่ยวข้องกับความท้าทายของภาคอุตสาหกรรม ประเด็นที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับมหภาค และเทรนธุรกิจในอนาคต และรับฟังการบรรยายพิเศษ เรื่อง ดร.อารีพร อัศวินพงศ์พันธุ์ นักวิชาการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เกี่ยวกับนโยบายของประเทศที่เกี่ยวข้องกับ ESG ซึ่งได้แก่ นโยบายด้านพลังงาน ที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจ และแนวทางการการบริหารจัดการมุ่งเน้นการทำธุรกิจที่สอดคล้องกับ ESG และรับฟังการอภิปราย ในหัวข้อ Building Sustainable Brand : The Role of ESG in Modern Branding” ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างแบรนด์ โดยใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเครื่องมือในการทำธุรกิจที่สอดคล้องตามแนว ESG ที่สอดคล้องตามรูปแบบของ Model ธุรกิจ ในช่วงบ่าย รับฟังการอภิปรายในหัวข้อ Collaboration with universities and business for wider reach in the Age of ESG ที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการนำผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยสู่เชิงพาณิชย์ โดยมีนักวิจัยหรืออาจารย์เป็น Start up หรือร่วมทุนกับบริษัทฯ ต่างๆ รวมถึงระบบและกลไกของมหาวิทยาลัยที่สนับสนุนการดำเนินงานต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา
ขอขอบคุณ ข่าว / ภาพ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ว่าที่ร้อยตรีทนงศักดิ์ สัสดีแพง
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา