โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา ผนึกกำลัง ทม.แม่ฮ่องสอน ขับเคลื่อนการพลิกโฉมเมืองชายแดนสู่ “เมืองน่าอยู่-เมืองทันสมัย” ด้วยเทคโนโลยี BIM และ Digital Twin ภายใต้ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยและบริบทการพัฒนาที่ยังยืน SDGs  | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

มทร.ล้านนา ผนึกกำลัง ทม.แม่ฮ่องสอน ขับเคลื่อนการพลิกโฉมเมืองชายแดนสู่ “เมืองน่าอยู่-เมืองทันสมัย” ด้วยเทคโนโลยี BIM และ Digital Twin ภายใต้ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยและบริบทการพัฒนาที่ยังยืน SDGs

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 23 เมษายน 2568 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 34 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา โดยหลักสูตรวิศวกรรมโยธา สาขาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ และหลักสูตรสถาปัตยกรรม คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ ได้ร่วมลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน เดินหน้าโครงการ “พัฒนาพื้นที่เขตเมืองแม่ฮ่องสอนให้เป็นเมืองน่าอยู่-เมืองทันสมัย” ผ่านการใช้เทคโนโลยี Building Information Modeling (BIM) และ Digital Twin เพื่อการวางแผน วิเคราะห์ และออกแบบอย่างมีประสิทธิภาพ โครงการดังกล่าวเริ่มต้นด้วย “การสัมมนาทางวิชาการและเชิงปฏิบัติการ” ระหว่างวันที่ 20-22 เมษายน 2568 ณ เทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน เพื่อดำเนินการเก็บข้อมูลภาคสนาม ในเขตเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน ด้านกายภาพโดยการสำรวจภูมิประเทศด้วยอุปกรณ์เลเซอร์สแกนและอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) เพื่อทำแผนที่และแบบจำลองสารสนเทศอาคาร การเก็บภาพถ่ายเพื่อจัดทำฐานข้อมูล (Data Base)สภาพทางกายภาพ นำไปสู่การวางแผนการจัดการการปรับปรุงภูมิทัศน์ และการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการสำรวจและออกแบบ ด้วยBuilding Information Modeling (BIM) และการใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (GIS) แก่พนักงานของเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการวางแผนและบริหาร และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพนักงานเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน ภาคีเครือข่ายในท้องถิ่น และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ผ่านการจัดกิจกรรมสัมมนาเชิงวิชาการและเชิงปฏิบัติการ เพื่อระดมความคิดเห็น แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ให้เกิดกระบวนการจัดการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว และร่วมกันกำหนดแนวทางการพัฒนาเมืองให้สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่น และเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)

เมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดชายแดนที่มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและธรรมชาติอันงดงาม กำลังเผชิญกับความเสื่อมโทรมของพื้นที่เมืองจากการขยายตัวแบบไร้ทิศทาง ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและศักยภาพทางเศรษฐกิจ การบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมจากสถาบันอุดมศึกษา จึงเป็นแนวทางสำคัญในการวางรากฐานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน การริเริ่มพัฒนาเมืองด้วยเทคโนโลยี BIM และ Digital Twin ถือเป็นการก้าวข้ามข้อจำกัดเดิมๆ ของการพัฒนาเมือง โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วม การเก็บข้อมูลภาคสนาม และการสร้างฐานข้อมูลเมืองในรูปแบบดิจิทัล ที่สามารถต่อยอดได้ทั้งในเชิงวิชาการ การวิจัย และการวางแผนเชิงนโยบายในอนาคต

<<คลิกเข้าชมภาพกิจกรรมเพิ่มเติม>>







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon