โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา หนุนชุมชนแม่ลาว คว้ารางวัลพัฒนาชุมชนดีเด่นระดับจังหวัด | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

มทร.ล้านนา หนุนชุมชนแม่ลาว คว้ารางวัลพัฒนาชุมชนดีเด่นระดับจังหวัด

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 8 กรกฎาคม 2568 โดย นางสาวกิ่งกานต์ สาริวาท จำนวนผู้เข้าชม 59 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

                             เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2568 เวลา 08.30 น. นางสาวหฤทัยรัตน์ จันต๊ะคาด อาจารย์ประจำหลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการ วิชาเอกวิศวกรรมโลจิสติกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา เชียงราย หัวหน้าโครงการการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้วย BCG Tourism ร่วมกับ นางสาววรรษมน เป็งใจ พัฒนาการอำเภอแม่ลาว, นางสาวสาลี ภิไชยวงค์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ พร้อมคณะเจ้าหน้าที่จากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย  ร่วมแสดงความยินดีกิจกรรมที่มีผลการดำเนินงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานเป็นที่ประจักษ์ สามารถเป็นแบบอย่างสำหรับการพัฒนาในพื้นที่อำเภอแม่ลาว ในวันประชุมคณะกรรมการจังหวัด หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และนายอำเภอ ครั้งที่ 6/2568 ณ ห้องประชุมจอมกิตติ ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดเชียงราย
                 โดยนางอำไพ บัวระดก พัฒนาการจังหวัดเชียงราย จากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย ได้กล่าวรายงานผลการคัดสรรกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น ประจำปี 2568 พร้อมรายงานการดำเนินโครงการส่งเสริมกระบวนการเครือข่ายองค์ความรู้ (Knowledge-Based OTOP : KBO) จังหวัดเชียงราย เพื่อยกระดับขีดความสามารถของผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP ซึ่งอำเภอแม่ลาวได้ร่วมรับรางวัล ดังนี้ 
                   1. การคัดสรรกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น ประจำปี 2568 ประเภท กลุ่ม/องค์กรชุมชน แกนหลักในการพัฒนาหมู่บ้าน ดีเด่นระดับจังหวัด*****รางวัลชมเชย วิสาหกิจชุมชนนามว้า หมู่ที่ 2 ตำบลจอมหมอกแก้ว อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย
                   2. โครงการส่งเสริมกระบวนการเครือข่ายองค์ความรู้ (Knowledge-Based OTOP : KBO)จังหวัดเชียงราย เพื่อยกระดับขีดความสามารถของผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP *****รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ วิสาหกิจสุรากลั่นชุมชนฐิตินันท์ ตำบลดงมะดะ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย
 โดยมี นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เป็นประธาน พร้อมด้วย รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย และ นางสินีนาฏ ทองสุข ประธานแม่บ้านมหาดไทย/นายกเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงราย หัวหน้าส่วนราชการทุกภาคส่วน ร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียง
                    ซึ่งทั้ง 2 วิสาหกิจชุมชน ล้วนเป็นเครือข่ายผู้ประกอบการทางสังคม Chiang Smart Model กลุ่มเป้าหมายของโครงการการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้วย BCG Tourism ที่ มทร.ล้านนา ร่วมกับหน่วยงานทุกภาคส่วน มุ่งส่งเสริมศักยภาพการผลิต สร้างมูลค่าเศรษฐกิจใหม่ และยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน ผ่านการนำเสนอสินค้าและบริการที่มีอัตลักษณ์ สร้างคุณค่าอย่างยั่งยืน โดยเน้นการนำเสนอสินค้าเกษตรแปรรูป ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น และประสบการณ์ท่องเที่ยวที่บูรณาการภูมิปัญญากับนวัตกรรม สร้างความแตกต่างและความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวและผู้บริโภคที่มาเยือน
                     และ เวลา 12.00 น. นางสาวหฤทัยรัตน์ จันต๊ะคาด ที่ปรึกษาชุมชน เข้าร่วมเตรียมความพร้อมสำหรับการตรวจประเมินโครงการหมู่บ้านเข็มแข็งตามแนวทาง “แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง” ระดับเขต ณ ที่ทำการวิสาหกิจชุมชนบ้านจำหวาย หมู่ที่ 2 ตำบลดอยลาน อำเภอเมืองเชียงราย ซึ่งทำงานร่วมกับหน่วยงานภาคประชาชนในพื้นที่ และกลุ่มอาชีพงานหัตถกรรมและของประดับตกแต่ง โดยมี นางวลีญา ชนะพันธ์ ประธานกลุ่มผู้เข้ารับการบ่มเพาะศักยภาพ ภายใต้หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษา เครือข่ายภาคเหนือตอนบน (University Business Incubator) เป็นตัวแทนชุมชน ในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการ อาทิเช่น กระเป๋าแฮนด์เมด งานควิลท์ ตุ๊กตา เสื้อผ้าสไตล์วินเทจ แบรนด์ Valeeya Quilt ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับ 5 ดาวของอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย รวมถึงงาน Eco-Print สีธรรมชาติจากขมิ้น และผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ได้จากการส่งเสริมการอนุรักษ์และปลูกสมุนไพรในป่าชุมชน โดยสามารถนำผลผลิตมาเพิ่มมูลค่าด้วยการแปรรูปเป็นยาหม่องไพร และน้ำมันไพล

    







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon