เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 19 มิถุนายน 2560 โดย สิริญญา ณ นคร จำนวนผู้เข้าชม 2,691 คน
ทีม Explosion 2 นายเซ็นทรัล เสือพิทักษ์, นายวิฆเนศ ทิพรสและนายอนันต์ โฮริโกชิ นักศึกษาสาขาวิศวกรรมเครื่องกล ชั้นปีที่ 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา คว้าแชมป์การแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย ประจำปี 2560 (TPA Robo’ s Basketball Competition 2017) ครองถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัล 50,000 บาท เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2560 ณ เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน กรุงเทพฯ
สำหรับการแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย ในระดับอุดมศึกษา จัดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยปี พ.ศ. 2536 โดยสมาคม-ส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการออกแบบวิจัย พัฒนาและระบบการควบคุมด้าน Robotics ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาผลักดันเทคโนโลยีสร้างเสริมประสบการณ์จากภาคทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติให้เข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม ในปี 2560 แบ่งการแข่งขันหุ่นยนต์ 5 ประเภท ซึ่งทางมหาวิทยาลัยฯ ส่งนักศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันประเภท TPA PLC Competition 2017 (ระดับอุดมศึกษา) “TPA Robo’ s Basketball Competition 2017” โจทย์การแข่งขันหุ่นยนต์ชู้ตบาสฯ ด้วยระบบการควบคุม PLC
นายเซ็นทรัล เสือพิทักษ์ (บอส) หัวหน้าทีมกล่าวว่าตั้งใจแต่แรกว่าเมื่อเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยฯ จะเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันรายการต่างๆ เพื่อจบมาจะได้มีความรู้มากกว่าใบปริญญาเพียงอย่างเดียว อีกทั้งได้เห็นความสำเร็จของรุ่นพี่ที่ไปแข่งขันในปี 2559 สามารคว้าถ้วยพระราชทานฯ มาครอง จึงเกิดแรงผลัดดันที่จะเข้าร่วมแข่งขันในเวทีหุ่นยนต์โปรแกรม PLC ที่สามารถำการประยุกต์ในการเรียนและการทำงานในอนาคตจึงชวนนายวิฆเนศ ทิพรส(เนท) และนายอนันต์ โฮริโกชิ(โจอี้) เข้าร่วมทีม
นายวิฆเนศ ทิพรส(เนท) ตอนแรกที่บอสมาชวนร่วมแข่งขัน ยังขาดความมั่นใจในตัวเองเพราะกลัวว่าจะไม่สามารถทำผลงานเทียบเท่ากับรุ่นพี่ได้ แต่ทราบข่าวจากทางสมาคมฯ ว่าในปีนี้ทีมที่ชนะจะได้รับถ้วยพระราชทานจากพระหัตถ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตัดสินใจในทันทีที่จะเข้าร่วมการแข่งขัน
สำหรับนายอนันต์ โฮริโกชิ (โจอี้) เป็นเพื่อนสนิทของเนท เมื่อเนทชวนเห็นว่าเป็นโอกาสและประสบการณ์ที่ดี ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วมีความสนใจในเรื่องระบบการทำงานของเครื่องจักรกลใหม่ๆ ฝันว่าในอนาคตอยากทำงานด้านระบบการบิน จึงตัดสินใจร่วมทีมอย่างไม่ลังเล
ทั้ง 3 กล่าวว่า “กว่าจะได้เข้ารอบการแข่งขัน 16 ทีมสุดท้ายจากผู้แข่งขันสถาบันต่างๆ กว่า ทีม ทั้ง 3 จะต้องเข้าร่วมการอบรมและทดสอบเก็บคะแนนจากการแข่งขันห่นยนค์ ส.ส.ท. PLC Competition 2017 เดือนกุมภาพันธ์ 2560 และคัดเหลือเพียง 16 ทีมที่มีคะแนนสุงสูด จากนั้นจะได้รับโจทย์ กติกาการแข่งขันและอุปกรณ์มอเตอร์ Servo ชุดควบคุม PLC ช่วงกลางเดือนมีนาคม 2560 ใช้เวลาในการออกแบบ 4 สัปดาห์และสร้างหุ่นตามแบบอีก 4 สัปดาห์ กว่าจะได้หุ่นยนต์ที่ใช้แข่งขันมากกว่า 2 เดือน ระหว่างนั้นยังมีการแก้ไข ดัดแปลงหุ่นยนต์เพื่อให้ใกล้เคียงกับแบบมากที่สุด ทดสอบหุ่นยนต์จับลูกบาส ชู๊ตลูกลงห่วงตามกติกา ซึ่งกว่าหุ่นยนต์จะสมบูรณ์ก่อนการแข่งขันเพียง 3 สัปดาห์เท่านั้นและเมื่อมีการซ้อมบ่อยๆ หุ่นยนต์เกิดการเสื่อมตามอายุการใช้งาน จึงต้องซ้อมแซม แก้ไขให้ทันเวลาก่อนการแข่งขันรอบแรกในวันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน 2560 เนทกล่าวเสริมการแข่งขันครั้งนี้สร้างความกดดันต่อทีมเป็นอย่างมาก เนื่องจากปีที่แล้วรุ่นพี่ทำผลงานได้ที่ 1 ซึ่งเราจะต้องทำให้ดีกว่ารุ่นพี่ ซึ่งนั้นก็คือต้องได้ที่ 1 เท่านั้น ทั้งสามคนจึงใช้เวลาในการฝึกฝนทำโจทย์ PLC และฝึกซ้อมวันละ 3 – 4 ชั่วโม ตั้งแต่เดือนมกราคม 2560
ขอขอบบคุณอาจารย์เอกรัฐ จันทร์ประเสริฐ อาจารย์ผู้ควบคุมผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ ที่ค่อยให้คำแนะนำในทุกเรื่องๆ เล่าประสบการณ์การแข่งขันปัญหาต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาทันท่วงที อาจารย์วศิน วงศ์คำ สนับสนุนอุปกรณ์ซอฟแวร์พร้อมให้คำปรึกษาระบบอิเลกทรอนิกส์ให้กับ 3 นักศึกษา เบื้องหลัง
ขอขอบคุณภาพจาก
http://www.tpa.or.th/news.php?id=1670
https://www.facebook.com/TPA-Robot-326768447351577/
คลังรูปภาพ : มทร.ล้านนา คว้าแชมป์ 2 สมัย ครองถ้วยพระราชทานฯ
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา