โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา จับมือ เบทาโกร  สร้าง “นักศึกษา WiL” เรียนรู้ควบคู่การทำงาน  | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

มทร.ล้านนา จับมือ เบทาโกร สร้าง “นักศึกษา WiL” เรียนรู้ควบคู่การทำงาน

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 19 กุมภาพันธ์ 2561 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 4,741 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

 วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา(มทร.)ล้านนา ร่วมกับ บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) สร้างหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (โครงการส่งเสริมพนักงานกลุ่มงานผลิตและวิศวกรรม ระดับ G4 ขึ้นไป ที่เรียนจบ ปวส.ให้เรียนต่อระดับ ปริญญาตรี) โดยอาจารย์ภฤศพงศ์  เพชรบุล รองอธิการบดีด้านบริหาร รักษาราชการแทนอธิการบดี มทร.ล้านน ลงนามความร่วมมือกับนายชยานนท์  กฤตยาเชวง  รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหาร  สายงานปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม ผู้แทนจากบริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน)   ณ ห้องประชุม 1 อาคารอำนวยการ มทร.ล้านนา

โครงการความร่วมมือการจัดการเรียนการสอนและวิจัยแบบบูรณาการกับการทำงาน (Work-integrated Learning: WiL) เป็นโครงการที่มีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้อาจารย์และนักศึกษาได้ไปปฏิบัติงานจริงในเครือเบทาโกรควบคู่กับการเรียนการสอนในห้องเรียนและงานวิจัยอุตสาหกรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาจารย์และนักศึกษาสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์จริงภายใต้การแนะนำจากผู้ที่มีประสบการณ์  และยังเป็นการฝึกให้อาจารย์และนักศึกษาได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น เรียนรู้วัฒนธรรมองค์กร และระบบการทำงานในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งไม่สามารถหาได้ในห้องเรียนหรือห้องทดลอง และส่งผลให้อาจารย์และนักศึกษามีการพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพที่สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมโดยรูปแบบการดำเนินงานถูกออกแบบมาอย่างเป็นระบบและหมุนเวียนได้ (Rolling system) ตั้งแต่นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และนักศึกษาระดับปริญญาตรีซึ่งเรียกว่า“นักศึกษา WiL” ผู้ปฏิบัติงานครูผู้สอนประจำโรงงานและอาจารย์จากสถานศึกษา โดยให้เกิดการปฏิบัติงานที่ปรับเปลี่ยนใหม่ในแต่ละรุ่นการศึกษา ทั้งนี้ครูจากเดิมที่ไม่สามารถอยู่ในโรงงานได้ จะถูกกำหนดหน้าที่เป็น ครูที่อยู่ในโรงงานและจะถูกพัฒนาให้สามารถการเรียนรู้และทำงานควบคู่ไปด้วยกันได้โดยการจัดหาผู้ที่จบปริญญาตรีเข้าศึกษาในระดับปริญญาโทโดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย ซึ่งเรียกว่า “ครูพี่เลี้ยง” เข้าไปปฏิบัติงานในเครือเบทาโกรจนคุ้นเคยต่อการทำงานจริง จากนั้นจึงใช้ความเข้าใจเรียบเรียงความรู้ออกมาใหม่ซึ่งเป็นการถอดบทเรียนเป็นกระบวนการที่ใช้ในแต่ละตำแหน่งงาน เพื่อให้เกิดการกระจายและการใช้เทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรมแล้วนำไปถ่ายทอดเนื้อหาให้แก่นักศึกษา WiL โดยอาศัยครูที่มาจากมหาวิทยาลัยเข้ามาช่วยแนะนำหลักการเรียบเรียงความรู้และการสอน







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon