โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา ลงนามความร่วมมือ เพื่อร่วมกันยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนด้านอาชีวศึกษาและพัฒนางานวิจัยเพื่อขับเคลื่อนเกษตรอุตสาหกรรมภาคเหนือ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

มทร.ล้านนา ลงนามความร่วมมือ เพื่อร่วมกันยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนด้านอาชีวศึกษาและพัฒนางานวิจัยเพื่อขับเคลื่อนเกษตรอุตสาหกรรมภาคเหนือ

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 24 เมษายน 2561 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 3,982 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

             วันจันทร์ที่ 23 เมษายน 2561 ผศ.ประพัฒน์ เชื้อไทย รักษาราชการแทนอธิการบดี มทร.ล้านนา ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ
นายเสรี ทรงศักดิ์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ (ผู้แทนนายอนุวัธ วงศ์สุวรรณ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่) พร้อมด้วยผู้แทนจากบริษัท วิริยะ เอ็นเนอร์ยี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัทฮาเวสเตอร์ เซลล์แอนด์เซอร์วิส(ประเทศไทย) จำกัด ในพิธีลงนามความร่วมมือ โครงการ"พัฒนาการศึกษาและการวิจัยทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมแบบมีส่วนร่วมระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา" และในโอกาสเดียวกันนี้ ผศ.ประพัฒน์ ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับนายปัญญชาติ วงษ์ปัญญา ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคสันกำแพง ในโครงการ "ต้นแบบการจัดการศึกษาวิชาชีพด้านเทคโนโยีในระดับอาชีวศึกษา"    เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนด้านอาชีวศึกษาและเสริมสร้างขีดความสามารถของนักศึกษาเมื่อเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูง และส่งเสริมให้อาจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยให้มีการศึกษา ค้นคว้า วิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม และสร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชน  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัย และมีผลงานการวิจัยเชิงประจักษ์ในด้านเทคโนโลยีนวัตกรรม ที่สามารถใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และตรงตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยมีนายกู้เกียรติ ประภัสระกูล นายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมคลล้านนา และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย  คณะผู้บริหาร อบจ.แพร่ และคณาจารย์จากวิทยาลัยเทคนิคสันกำแพง ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามความร่วมมือ ณ ห้องประชุม 1 อาคารอำนวยการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 
           โดยการลงนามความร่วมมือดังกล่าว เป็นผลสืบเนื่องจากการที่ ผศ.ประพัฒน์ เชื้อไทย รักษาราชการแทนอธิการบดี และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาขีดความสามารถของนักศึกษาสายอาชีพ และมหาวิทยาต้องมีบทบาทในการพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ซึ่งจะเห็นได้จากนโยบายจากรัฐบาลและบทวิเคราะห์นักวิชาการด้านการศึกษาได้มีการสนับสนุนส่งเสริมการศึกษาด้านอาชีวะ จากสภาวะงานปัจจุบันและอนาคตจำเป็นต้องใช้กำลังคนด้านวิชาชีพที่มีทักษะฝีมือเป็นจำนวนมาก แต่สัดส่วนของนักเรียนที่เลือกเรียนสายอาชีพมียังมีจำนวนน้อยกว่าสายสามัญและจากการที่มหาวิทยาลัยได้ลงพื้นที่สำรวจในภาคเหนือจะเห็นได้ว่านักเรียนเลือกที่เข้าศึกษาต่อสายอาชีพมีสัดส่วนน้อยลงอย่างต่อเนื่อง จากความจำเป็นดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จึงมีแนวทางการดำงานภายใต้การลงนามความร่วมมือระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษาในครั้งนี้ใน 3 ประเด็นหลักประกอบด้วย 
1.บันฑิตพันธุ์ใหม่ราชมงคลล้านนา "อาชีพนำการผลิต ตอบสนองต่อ Demand Side" ในรูปแบบที่การศึกษาแนวใหม่ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 
โดยเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนเรียนรู้จากประสบการณ์และตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ 
2.การผลิตนักศึกษาต่อเนื่องจากสถาบันการอาชีวศึกษา ในสัดส่วนการรับนักศึกษาต่อเนื่องจากอาชีวศึกษา 70 %  และรับผู้ที่จบการศึกษาจาก ม.6 30% 
3.การปรับเป้าหมายการรับผู้เรียนใหม่ ด้วยหลักสูตรประเภท Deree และ Non-Degee การให้ผู้สูงวัยได้มา Recyle ส่วนคนทำงานอยู่แล้วต้องเอามาปัดฝุ่นหรือมา Re-skill Re-train

(ข้อมูลจาก : วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มทร.ล้านนา)







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon