โลโก้เว็บไซต์ ติดตามผลการดำเนินงานโครงการยกระดับฯ 2561 หมู่บ้านแม่สายป่าเมี่ยง   | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

ติดตามผลการดำเนินงานโครงการยกระดับฯ 2561 หมู่บ้านแม่สายป่าเมี่ยง

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 10 กรกฎาคม 2561 โดย นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส จำนวนผู้เข้าชม 3,325 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

วันที่ 10 กรกฎาคม 2561  สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้จัดโครงการติดตามผลการดำเนินงานโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้านชุมชนและภาคอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 โอกาสนี้ ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.สุรชัย  กังวล และบุคลากรสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ผู้ช่วยศาสตราจารย์เสรฐสุดา ปรีชานนท์  หัวหน้าโครงการ และคณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ร่วมตรวจเยี่ยมพื้นที่ดำเนินงานของโครงการ

               คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กำหนดพื้นที่ดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม กรณีหมู่บ้านแม่สายป่าเมี่ยง  หมู่ที่ 7 ตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้ดำเนินงานต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 บ้านแม่สายป่าเมี่ยง เป็นเขตพื้นที่ราบสูง ป่าไม้และภูเขา ระดับความสูงประมาณ 900 – 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง อยู่ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีลานนา ชุมชนบ้านแม่สายป่าเมี่ยงมีแหล่งน้ำธรรมชาติหลายสาย ประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชนจริงมีเพียง 56 ครัวเรือน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกเมี่ยงเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของชุมชน และบ้านแม่สายป่าเมี่ยงยังอยู่ในพื้นที่โครงการขยายผล โครงการหลวงโหล่งขอด ซึ่งเข้ามาส่งเสริมให้ชุมชนปลูกพืชเมืองหนาวเพื่อเป็นรายได้เสริม เช่น กาแฟ อโวคาโด พลับ กล้วยไม้ เป็นต้น   ทรัพยากรด้านวัฒนธรรมที่สำคัญ คือสถานปฏิบัติธรรมบ้านแม่สายป่าเมี่ยง ซึ่งเป็นสถานปฏิบัติธรรมที่ร่มเย็นด้วยธรรมชาติ เงียบสงบ มีประวัติยาวนาน และพระอริยสงฆ์สายธรรมยุตหลายรูปเคยธุดงค์มาปฏิบัติธรรม และชุมชนยังมีทรัพยากรทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบรูณ์ มีการอนุรักษ์รักษาป่าต้นน้ำรวมถึงภูมิปัญญาด้านสมุนไพร ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมได้อย่างยั่งยืนในอนาคต คณะทำงานได้ดำเนินกิจกรรมหลัก 2 กิจกรรมได้แก่

  1.  การแปรรูปกาแฟอินทรีย์ ซึ่งกิจกรรมที่ได้ดำเนินการแล้วได้แก่ การตรวจสอบและรับรองคุณภาพของกาแฟอินทรีย์บ้านแม่สายป่าเมี่ยงโดยหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง การออกแบบและวางระบบการควบคุมภายในสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตกาแฟอินทรีย์บ้านแม่สายป่าเมี่ยงอย่างมีส่วนร่วม การออกแบบและวางระบบการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตกาแฟอินทรีย์ชุมชนแม่สายป่าเมี่ยงอย่างมีส่วนร่วม การออกแบบ และวางระบบการบริหารจัดการ ด้านการเงิน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตกาแฟอินทรีย์ชุมชนแม่สายป่าเมี่ยงอย่างมีส่วนร่วม การพัฒนาบุคลากรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตกาแฟอินทรีย์ชุมชนแม่สายป่าเมี่ยงให้มีทักษะ ศักยภาพ รวมถึงเทคนิคการถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ และการตลาดการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ กิจกรรมที่อยู่ระหว่างดำเนินการได้แก่ การยกระดับกลุ่มกาแฟอินทรีย์ให้เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตกาแฟอินทรีย์ชุมชนแม่สายป่าเมี่ยง การจัดทำและจัดหาเครื่องมือเพื่อใช้ในการแปรรูปกาแฟอินทรีย์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตกาแฟอินทรีย์ชุมชนแม่สายป่าเมี่ยง โดยเน้นความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  2. การพัฒนาหมู่บ้านท่องเที่ยวและโฮมสเตย์ ซึ่งกิจกรรมที่ได้ดำเนินการแล้วได้แก่ การพัฒนาโปรแกรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีส่วนร่วมตามความต้องการศักยภาพของชุมชน

 

เรื่อง : นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส

ภาพ : นายจักรรินทร์ ชื่นสมบัติ







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon