โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา จับมือ ธ.ออมสิน จัดงาน Show & Share ผลงานการจัดโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

มทร.ล้านนา จับมือ ธ.ออมสิน จัดงาน Show & Share ผลงานการจัดโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 15 สิงหาคม 2561 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 5,087 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

          วันที่ 15 สิงหาคม 2561 รองศาสตราจารย์ ดร.สมชาติ หาญวงษา รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ เป็นประธานเปิดกิจกรรม “การนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น” โดยมี ดร.ภาสวรรธน์ วัชรดำรงศักดิ์ รักษาราชการผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กล่าวรายการถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ณ ลานโปรโมชั่น 3 ชั้น 1 ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล จังหวัดเชียงใหม่ ในโอกาสเดียวกันนี้ยังได้รับเกียรติจากนายสุเชษฐ์ คำฟู ผู้อำนวยการเขต ธนาคารออมสินเขตเชียงใหม่ 2 พร้อมด้วย ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์ การตลาดและพัฒนาลูกค้าองค์กรชุมชุน ส่วนพัฒนาลูกค้าองค์กรชุมชน 2 ธนาคารออมสินและคณะกรรมการธนาคารออมสิน เข้าร่วมในกิจกรรมดังกล่าว

          สำหรับกิจกรรม “การนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น” จัดขึ้นภายใต้โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และธนาคารออมสิน มีวัตถุประสงค์เพื่อหาทีมที่เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยเข้าร่วมประกวด “โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น” ในระดับประเทศที่จะมีการจัดขึ้นในเดือนกันยายนนี้  อีกทั้งยังเป็นเวทีเพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานของคณาจารย์ นักศึกษา ที่ได้นำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม  ที่เหมาะสมไปถ่ายทอดสู่ชุมชนให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น โดยมีนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จำนวน 8 ทีม เข้าร่วมนำเสนอผลการดำเนินงานแก่คณะกรรมการดำเนินงาน ประกอบด้วย

1.โครงการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ของวิสาหกิจชุมชนรวีวรรณกล้วยกรอบ ตำบลเจริญราษฎร์ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา โดย มทร.ล้านนา เชียงราย ผศ.ดร.ณภัทร ทิพย์ศรี และคณะเป็นที่ปรึกษา
2.โครงการพัฒนา “ผ้าม่อนล้าน” บนสถานีพัฒนาการเกษตรตามพระราชดำริ ดอยม่อนล้าน โดย คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผศ.ไพโรจน์ วรพจน์พรชัย เป็นที่ปรึกษา
3.โครงการยกระดับอาชีพการผลิตเห็ดของกลุ่มผู้ปกครองผู้พิการ ตำบลแม่สันเมืองยาว ตำบลเมืองยาว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง โดย มทร.ล้านนา ลำปาง ผศ.นวลศรี จารุทรรศน์ และคณะเป็นที่ปรึกษา
4.โครงการศึกษาวิเคราะห์ ส่งเสริม และพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแปรรูปอาหารชาววัง ตำบลนาโบสถ์ อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก โดย มทร.ล้านนา ตาก อาจารย์จักรพันธ์ วงศ์ฤกษ์ดีและคณะ เป็นที่ปรึกษา
5.โครงการยกระดับชุมชนบ้านออนใต้เชิงสร้างสรรค์ (กลุ่มสตรีผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์ชุมชน กระเป๋าถักจากเชือกร่ม) ตำบลแม่ออน อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ โดย คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ อาจารย์ชรัญญา สุวรรณเสรี และคณะเป็นที่ปรึกษา
6.โครงการก้าวแรกสู่บ้านหลวง ตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ ว่าที่ ร.ต.ชัยภูมิ สีมา และคณะเป็นที่ปรึกษา
7.โครงการการเพิ่มผลิตภาพการจำหน่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าตีนจกบ้านสองธาร ตำบลบ้านทับ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ โดย คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ ดร.ไพรพันธ์ ธนเลิศโศภิต เป็นที่ปรึกษา
8.โครงการอนุรักษ์ลวดลายผ้าทอโบราณ อำเภออมก๋อย โดย คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผศ.ไพโรจน์ วรพจน์พรชัย เป็นที่ปรึกษา  

           ซึ่งจากการประกวดการนำเสนอโครงการ “ออมสินยุวพัฒน์อนุรักษ์ถิ่นไทย” ทั้ง 8 โครงการ โดยทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศได้แก่ทีมจากโครงการพัฒนา “ผ้าม่อนล้าน” บนสถานีพัฒนาการเกษตรตามพระราชดำริ ดอยม่อนล้าน โดย คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผศ.ไพโรจน์ วรพจน์พรชัย เป็นที่ปรึกษา พร้อมทั้งยังได้เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ในการนำเสนอผลการดำเนินโครงการ “ออมสินยุวพัฒน์อนุรักษ์ถิ่นไทย”ในระดับประเทศ ซึ่งได้รับเกียตริจาก ดร.สุรพล ใจวงศ์ษา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมคลล้านนา เป็นผู้มอบรางวัล  







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon