โลโก้เว็บไซต์ Fab Lab เดินหน้าสร้างนวัตกรรุ่นใหม่ จัดอบรมเทคนิคการโค้ชชิ่งและการสื่อสารด้วยภาพเสริมอาวุธให้ครูแกนนำ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Fab Lab เดินหน้าสร้างนวัตกรรุ่นใหม่ จัดอบรมเทคนิคการโค้ชชิ่งและการสื่อสารด้วยภาพเสริมอาวุธให้ครูแกนนำ

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 24 มกราคม 2562 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 1,561 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

มทร.ล้านนา จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการโค้ชชิ่งและการสื่อสารด้วยภาพ (Coaching Technic and Visual Thinking)  ภายใต้โครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม (Fabrication Lab) ระหว่างวันที่ 24-26 มกราคม 2562 ณ ห้อง Innovation Learning  Center อาคารเฉลิมพระเกียรติ 56  พรรษา มทร.ล้านนา เพื่อพัฒนาทักษะความเป็นนวัตกรแก่เด็กและเยาวชนไทยรวมถึงการพัฒนาทักษะในการให้คำแนะนำ การตั้งคำถามเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ การฟัง ตลอดจนการสื่อสารด้วยภาพแก่ครูผู้ประสานงาน ครูแกนนำและวิศวกรผู้ช่วยในแต่ละสถานศึกษาได้มีทักษะที่จำเป็นในการสร้างนวัตกรต่อไปในอนาคต โดยรศ.ศีลศิริ สง่าจิตร ผู้ปฏิบัติหน้าที่อธิการบดี เป็นประธานเปิดโครงการ

 โครงการโรงประลองต้นแบบทางวิศวกรรม (Fabrication Lab หรือ FAB LAB) เป็นโครงการที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ให้เป็นมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงให้แก่โรงเรียนในเขตจังหวัดภาคเหนือ โดยมีเป้าหมายส่งเสริมการออกแบบและสร้างต้นแบบที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน หุ่นยนต์และระบบควบคุมอัตโนมัติ หรือยานยนต์สมัยใหม่ เพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมในอนาคต (New S-curve) และเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้พัฒนาทักษะความเป็นนวัตกร ด้วยการจัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ สามารถออกแบบและสร้างชิ้นงานเป็นรูปธรรมได้จริงโดยใช้เครื่องมือทางวิศวกรรม และเครื่องมือวัดทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งนวัตกรด้านวิศวกรรมเชิงช่างจะเป็นผู้ประกอบการสร้างสรรค์ธุรกิจใหม่ ที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปสู่ THAILAND 4.0 ของรัฐบาล ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงให้แก่วิทยาลัยเทคนิค 5 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก วิทยาลัยเทคนิคอุตรดิตถ์ วิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย วิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ วิทยาลัยเทคนิคน่าน

 







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon