โลโก้เว็บไซต์ กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ขับเคลื่อนจัดกิจกรรมลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการ ภายใต้การสนับสนุนของกลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ปี2567 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ขับเคลื่อนจัดกิจกรรมลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการ ภายใต้การสนับสนุนของกลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ปี2567 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 17 กรกฎาคม 2567 โดย วรรธนพงศ์ เทียนนิมิต จำนวนผู้เข้าชม 824 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

     วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรจักร์ เมืองใจ ผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน หัวหน้ากลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี พร้อมผู้ช่วยศาสตราจารย์มนตรี  เงาเดช รองผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน นายนริศ กำแพงแก้ว รักษาการตำแหน่งผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์  นำบุคลากรกลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี และกองประชาสัมพันธ์ ร่วมกันขับเคลื่อนลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการ ภายใต้การสนับสนุนของกลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ณ ห้องประชุม 1 อาคารอำนวยการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก ในโอกาสนี้ นางสุทินา พึ่งทอง ผู้อำนวยการกองการศึกษา มทร.ล้านนา พิษณุโลก ให้เกียรติเป็นประธาน พร้อมกล่าวต้อนรับคณะทำงาน และเปิดกิจกรรม โดยกลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมีได้นำเสนอการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี แผนการดำเนินงานสนับสนุนการวิจัย การสร้างนวัตกรรม และส่งเสริมการเรียนรู้ โดยมุ่งเน้นการบูรณาการการจัดการองค์ความรู้ร่วมกับอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ เพื่อตอบโจทย์ด้านการเรียนการสอน ด้วยกลไกการพัฒนาต่อยอดงานวิจัย การสร้างนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ และการบริการวิชาการแก่ชุมชน โดยใช้โจทย์การทำงานจริงในพื้นที่ผ่านกลไกการขับเคลื่อนโครงการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับนักวิจัยในพื้นที่เป้าหมาย และเกิดเป็นแนวทางการพัฒนาชุมชนร่วมกัน เนื่องจากการจัดกิจกรรมครั้งนี้มีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 17 : เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อเป็นการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่มหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมต้นแบบและร่วมพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน โดยมีรูปแบบกิจกรรมประกอบด้วย

     1) การประชุมติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินโครงการตามแผนงาน

     2) ชี้แจงแนวทาง รูปแบบการส่งเสริม สนับสนุน และขับเคลื่อนโครงการ

     3) ลงพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมโครงการที่ดำเนินในพื้นที่ชุมชน เพื่อรับทราบปัญหา อุปสรรค และร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงาน

     4) ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลสำหรับจัดทำรายงานความก้าวหน้า และถ่ายทำวีดีทัศน์สรุปผลการดำเนินโครงการ โดยมีคณาจารย์และนักวิจัย ร่วมนำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินกิจกรรม/โครงการ

        จากนั้นคณาจารย์และนักวิจัย ร่วมนำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินกิจกรรม/โครงการมีรูปแบบการนำเสนอแผนการดำเนินงาน กระบวนการดำเนินงาน และผลการดำเนินงานรายกิจกรรม พร้อมเกิดเวทีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ปัญหา/อุปสรรคของการดำเนินงานและแนวทางการแก้ไขปัญหาพร้อมแนวทางการพัฒนาร่วมกัน โดยการดำเนินโครงการของ มทร.ล้านนา พิษณุโลก ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 1 การวิจัยและสนับสนุนการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ และยุทธศาสตร์ที่3 การส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ขับเคลื่อนในรูปแบบของกลุ่มโครงการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมการพัฒนาชุมชนสู่ความยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดสุโขทัย ด้วยแผนงานวิจัยและพัฒนาเพื่อการแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ที่สำคัญอย่างมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนได้รายงานการดำเนินโครงการประกอบด้วย 4 โครงการ ดังนี้ 

1.โครงการจัดทำแผนที่ทุนทางวัฒนธรรม เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ตามอัตลักษณ์ชุมชนตำบลกง จังหวัดสุโขทัย

          การดำเนินโครงการสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 8 : ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน

          หัวหน้าโครงการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีร์วรา  แสงอินทร์ คณะ: บริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์

2.โครงการพัฒนาต้นแบบระบบสลัดน้ำผักด้วยระบบลมเย็นเพื่อสนับสนุนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผักอินทรีย์ : กรณีศึกษาวาสหกิจชุมชนผักปลอดภัยจากสารพิษตำบลเกาะตาเลี้ยง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย

          การดำเนินโครงการสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 8 : ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ และมีผลิตภาพ และการมีงานที่สมควรสำหรับทุกคน

          (SDGs) เป้าหมายที่ 9 : สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความทนทาน ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม

          หัวหน้าโครงการ: นางสาวเดือนแรม แพ่งเกี่ยว        คณะ: วิศวกรรมศาสตร์

3.โครงการใช้นวัตกรรมกระบวนการผลิตอาหารไก่ไข่ด้วยวัตถุดิบอาหารพื้นถิ่นตามศาสตร์ของพระราชา

          การดำเนินโครงการสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 8 : ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ และมีผลิตภาพ และการมีงานที่สมควรสำหรับทุกคน

          (SDGs) เป้าหมายที่ 9 : สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความทนทาน ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม         

          หัวหน้าโครงการ: นางสาวอุษณีย์ภรณ์ สร้อยเพ็ชร์   คณะ: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

4.โครงการต้นแบบเครื่องสูบน้ำแบบเคลื่อนที่ควบคุมด้วยระบบ IOT ใช้พลังงานโซล่าเซลล์ สำหรับเกษตรกร ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

          การดำเนินโครงการสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 8 : ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ และมีผลิตภาพ และการมีงานที่สมควรสำหรับทุกคน

          หัวหน้าโครงการ: นายสมบัติย์ มงคลชัยชนะ            คณะ: วิศวกรรมศาสตร์

 

ภาพ: กองประชาสัมพันธ์ มทร.ล้านนา /กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี
ข้อมูล/เรียบเรียง: กองประชาสัมพันธ์ มทร.ล้านนา /กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon