เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 18 กรกฎาคม 2567 โดย วรรธนพงศ์ เทียนนิมิต จำนวนผู้เข้าชม 565 คน
วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรจักร์ เมืองใจ ผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน หัวหน้ากลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี พร้อมผู้ช่วยศาสตราจารย์มนตรี เงาเดช รองผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน นายนริศ กำแพงแก้ว รักษาการตำแหน่งผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์ นำบุคลากรกลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี และกองประชาสัมพันธ์ ร่วมกันขับเคลื่อนลงพื้นที่เยี่ยมชมกิจกรรมพร้อมดำเนินการจัดเก็บข้อมูล และถ่ายทำวีดิทัศน์ เพื่อจัดทำฐานข้อมูล เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์งานวิจัยและงานบริการวิชาการที่ตอบโจทย์การแก้ปัญหาในพื้นที่ รวมไปถึงการสร้างเครือข่าย บูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานภายใน และภายนอก เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนหลายมิติ โดยได้ดำเนินการร่วมกิจกรรมประกอบด้วย 3 โครงการ ดังนี้
1.โครงการใช้นวัตกรรมกระบวนการผลิตอาหารไก่ไข่ด้วยวัตถุดิบอาหารพื้นถิ่นตามศาสตร์ของพระราชา ซึ่งมีหัวหน้าโครงการ นางสาวอุษณีย์ภรณ์ สร้อยเพ็ชร์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ล้านนา พิษณุโลก โดยมีวัตถุประสงค์การใช้นวัตกรรมกระบวนการผลิตสูตรอาหารไก่ไข่ที่มีการใช้วัตถุดิบอาหารในพื้นถิ่นให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้เลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดีบ้านวังน้ำบ่อ ต.วังวน อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก ซึ่งเกษตรกรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างอาชีพ ด้วยการใช้แหนแดงสดเป็นแหล่งโปรตีนในสูตรอาหารไก่ไข่ต้นทุนต่ำสุดต่อคุณภาพไข่
2.โครงการต้นแบบเครื่องสูบน้ำแบบเคลื่อนที่ควบคุมด้วยระบบ IOT ใช้พลังงานโซลาร์เซลล์ สำหรับเกษตรกร ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งมีหัวหน้าโครงการ นายสมบัติย์ มงคลชัยชนะอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์พัฒนาต้นแบบเครื่องสูบน้ำแบบเคลื่อนที่ควบคุมด้วยระบบ IOT ใช้พลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ สำหรับเกษตร ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก พัฒนาต้นแบบเดิมให้มีขนาดกะทัดรัด ให้เคลื่อนย้ายไปใช้ในแปลงเพาะปลูกแปลงอื่น ๆได้ให้การทำการเกษตรที่อำนวยความสะดวก เพิ่มประโยชน์การใช้งาน ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเชื้อเพลิง และสามารถสั่งการ ดูข้อมูล ผ่านแอปพลิเคชันผ่านมือถือ มีเซนเซอร์ตรวจจับความชื้นดิน อุณหภูมิอากาศ เป็นต้น ใช้แบตเตอรี่เป็นแหล่งเก็บพลังงาน
3.โครงการพัฒนาต้นแบบระบบสลัดน้ำผักด้วยระบบลมเย็นเพื่อสนับสนุนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผักอินทรีย์ : กรณีศึกษาวิสหกิจชุมชนผักปลอดภัยจากสารพิษตำบลเกาะตาเลี้ยง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย ซึ่งมีหัวหน้าโครงการ นางสาวเดือนแรม แพ่งเกี่ยว อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์ออกแบบและพัฒนาต้นแบบระบบสลัดน้ำผักด้วยระบบลมเย็นที่มีสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการสลัดน้ำผักอินทรีย์ ประยุกต์การใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์สำหรับระบบควบคุมการทำงานต้นแบบเครื่องสลัดน้ำผักอินทรีย์ด้วยระบบบลมเย็น โดยทำการทดสอบสภาวะ และความเร็วของการสลัดที่เหมาะสมสำหรับการสลัดน้ำออกจากผักอินทรีย์ แบ่งเงื่อนไขการควบคุมตามน้ำหนักของผักอินทรีย์ โดยมีจอแสดงผลเพื่อแสดงเวลาที่ใช้สลัดและน้ำหนักของผักเพื่อยกระดับกระบวนการผลิตผักแผ่นอบกรอบ เยลลี่ผัก และผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่นๆ ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผักปลอดภัยจากสารพิษตำบลเกาะตาเลี้ยง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย
ภาพ: กองประชาสัมพันธ์ มทร.ล้านนา /กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี
ข้อมูล/เรียบเรียง: กองประชาสัมพันธ์ มทร.ล้านนา /กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา