โลโก้เว็บไซต์ กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ขับเคลื่อนจัดกิจกรรมลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการ  ภายใต้การสนับสนุนของกลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ปี2567 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลล้านนาเชียงราย และศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ อำเภอแม่สาย | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ขับเคลื่อนจัดกิจกรรมลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการ ภายใต้การสนับสนุนของกลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ปี2567 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลล้านนาเชียงราย และศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ อำเภอแม่สาย

เผยแพร่เมื่อ : เสาร์ 10 สิงหาคม 2567 โดย วรรธนพงศ์ เทียนนิมิต จำนวนผู้เข้าชม 381 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

     วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์มนตรี เงาเดช รองผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน นำนักวิจัยและบุคลากรกลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ขับเคลื่อนจัดกิจกรรมลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการ ภายใต้การสนับสนุนของกลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 3 อาคารสำนักงานบริหาร มทร.ล้านนา เชียงราย ในโอกาสนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชไมพร รัตนเจริญชัย ผู้ช่วยอธิการบดี มทร.ล้านนา เชียงราย ให้เกียรติเป็นประธานในกิจกรรมและกล่าวเปิดกิจกรรม โดยคณะดำเนินงานได้นำเสนอการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี แผนการดำเนินงานสนับสนุนการวิจัย การสร้างนวัตกรรม และส่งเสริมการเรียนรู้ โดยมุ่งเน้นการบูรณาการการจัดการองค์ความรู้ร่วมกับอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ เพื่อตอบโจทย์ด้านการเรียนการสอน ด้วยกลไกการพัฒนาต่อยอดงานวิจัย การสร้างนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ และการบริการวิชาการแก่ชุมชน โดยใช้โจทย์การทำงานจริงในพื้นที่ผ่านกลไกการขับเคลื่อนโครงการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับนักวิจัยในพื้นที่เป้าหมาย และเกิดเป็นแนวทางการพัฒนาชุมชนร่วมกัน เนื่องจากการจัดกิจกรรมครั้งนี้มีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 17 : เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อเป็นการพัฒนามหาวิทยาลัยสู่มหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมต้นแบบและร่วมพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน โดยมีโดยมีรูปแบบกิจกรรมประกอบด้วย

1) การประชุมติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินโครงการตามแผนงาน

2) ชี้แจงแนวทาง รูปแบบการส่งเสริม สนับสนุน และขับเคลื่อนโครงการ

3) ลงพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมโครงการที่ดำเนินในพื้นที่ชุมชน เพื่อรับทราบปัญหา อุปสรรค และร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงาน

4) ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลสำหรับจัดทำรายงานความก้าวหน้า และถ่ายทำวีดีทัศน์สรุปผลการผลการดำเนินโครงการ

     โดยมีคณาจารย์และนักวิจัย ร่วมนำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินกิจกรรม/โครงการ มีรูปแบบการนำเสนอแผนการดำเนินงาน กระบวนการดำเนินงาน และผลการดำเนินงานรายกิจกรรม พร้อมเกิดเวทีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ปัญหา/อุปสรรคของการดำเนินงานและแนวทางการแก้ไขปัญหาพร้อมแนวทางการพัฒนาร่วมกัน เนื่องจากการดำเนินโครงการของ มทร.ล้านนา เชียงราย ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่1 การวิจัยและสนับสนุนการพัฒนาชุมชนในพื้นที่และยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมอาชีพและการตลาดมุ่งสนับสนุน ยกระดับงานวิจัยและขับเคลื่อนการบริการวิชาการในพื้นที่โครงการพระราชดำริ และโครงการหลวง  ได้แก่ 

1.โครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศสู่เชิงพาณิชย์

การดำเนินโครงการสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 2 : ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการสำหรับทุกคนในทุกวัย         

หัวหน้าโครงการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณภัทร  ทิพย์ศรี   คณะ: บริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์

2.โครงการนวัตกรรมชุดทดสอบสารเคมีตกค้างเบื้องต้น

การดำเนินโครงการสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 9 : สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ทนทาน มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม

หัวหน้าโครงการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุบิน ใจทา คณะ: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร

3.โครงการการศึกษาความเป็นไปได้ในการผลักดันงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์โดยกลไก University Holding Company      

การดำเนินโครงการสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 9 : สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ทนทาน มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม

หัวหน้าโครงการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัฐพล เกติยศ      คณะ: วิศวกรรมศาสตร์

4.โครงการนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการพัฒนาชุมชนต้นแบบการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน

การดำเนินโครงการสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 9 : สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความทนทาน ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุม และยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม

            หัวหน้าโครงการ: นางสาวสุภัทรจิตต์ มะโนสด                     คณะ: บริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์

5.โครงการศึกษาแนวทางการจัดการน้ำเพื่อความมั่นคงชุมชนและสังคม เทศบาลตำบลเม็งราย อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย

การดำเนินโครงการสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 11 : ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัย มีภูมิต้านทานและยั่งยืน

หัวหน้าโครงการ: นายอังกูร ว่องตระกูล                              คณะ: วิศวกรรมศาสตร์

6.โครงการออกแบบและพัฒนาเครื่องแยกเมล็ดผักสำหรับการผลิตเมล็ดพันธุ์

การดำเนินโครงการสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 9 : สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม ที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม

หัวหน้าโครงการ: นายณัฐพล ศิริรักษ์                                  คณะ: วิศวกรรมศาสตร์

     การดำเนินโครงการสนับสนุนการดำเนินงานศูนย์จักรพันธ์เพ็ญศิริ โดยมีการดำเนินการในการสนองงานด้านพันธุ์พืช ณ ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยมหาวิทยาลัยดำเนินการสนับสนุนการดำเนินงาน อาทิเช่น การจัดเตรียมเครื่องมือ การซ่อมบำรุง การดูแลบำรุงรักษาพืชในด้านต่างๆ การจัดเตรียมสารชีวภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการเกษตร

1. โครงการสนับสนุนการดำเนินงานศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ๊ญศิริ

การดำเนินโครงการสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 2 : ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร และยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน

เป้าหมายที่ 3 : สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย

เป้าหมายที่ 12 : สร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

หัวหน้าโครงการ: ผศ.วิเชษฐ ทิพย์ประเสริฐ           คณะ: วิศวกรรมศาสตร์

     การดำเนินโครงการพัฒนานักวิจัยหน้าใหม่ RMUTL NEW Blood Transfusion'67 “พลังนิสิตนักศึกษาเพื่อชุมชน” สร้างการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาชุมชน สังคม ด้วยศาสตร์พระราชา ร่วมกับ การบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอน ภายใต้แนวคิด “กินได้ ใช้ได้ ขายได้ อยู่ได้” จำนวน 2 โครงการ ได้แก่

1. โครงการการเพิ่มประสิทธิภาพระบบให้น้ำอัตโนมัติสำหรับการเพาะปลูกผักบนที่สูง โครงการหลวงผาตั้ง จังหวัดเชียงราย

การดำเนินโครงการสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(SDGs) เป้าหมายที่ 9 : สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความทนทาน ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม

หัวหน้าโครงการ: นายธนาวัฒน์   ขันติวงค์           คณะ: บริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์

2. โครงการเทคโนโลยีนวัตกรรมการจัดการทรัพยากรเพื่อการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน

การดำเนินโครงการสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 3 : สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกวัย

          หัวหน้าโครงการ: นางมะลิวัลย์  อยู่อินทร์            สังกัด: กองบริหารทรัพยากร

 

     วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2567 คณะทำงานกลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี นำโดย นางสาวพิมลพรรณ เลิศบัวบาน นักวิจัย นายสามารถ  สาลี และนายวัชระ  กิตติวรเชฏฐ์ วิศวกร พร้อมคณะทำงาน ลงพื้นที่เยี่ยมชม ติดตามการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้ดำเนินการสนองงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ณ ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ในโอกาสนี้ นางสาววรินยา อุโมงค์ นักวิชาการศึกษาชำนาญการ มทร.ล้านนาเชียงราย ร่วมกับนางสาวทิพปภา เกิดผล เจ้าหน้าที่ประจำโครงการสนับสนุนการดำเนินงานศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ เป็นผู้นำคณะทำงานเยี่ยมชม และศึกษา การดำเนินงาน พร้อมทั้งแลกแลกเปลี่ยนประเด็น ปัญหา สรุปผลการดำเนินงาน วิเคราะห์หาแนวทางการพัฒนาโครงการวิจัย/บริการวิชาการ เพื่อการเรียนรู้สู่การแก้ไขปัญหา พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวทางการพัฒนางาน การดำเนินงานสนับสนุนร่วมกับศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักที่มีคุณภาพรวม ทั้งปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์พืชเพื่อให้มีสายพันธุ์ดีไว้เพาะปลูก ภายใต้โครงการที่รับพระราชทานพระราชานุมัติ ดำเนินการติดตามความก้าวหน้า การจัดเตรียมอุปกรณ์การเกษตร  เครื่องมือสำหรับการซ่อมบำรุง ปุ๋ยชีวภาพ และ สารชีวภัณฑ์สำหรับพืช เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างเรียบร้อย มีระบบ โดยได้สนับสนุนกิจกรรมการสนองงานโครงการด้านพันธุ์พืช โดยการดำเนินโครงการสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDG) เป้าหมายที่ 2 : ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหาร และยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 3 : สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย เป้าหมายที่ 12 : สร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

 

 







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon