เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 20 สิงหาคม 2567 โดย แก้วใส โล่ห์เพ็ชร จำนวนผู้เข้าชม 398 คน
ระหว่างวันที่ 20-22 สิงหาคม 2567 คณะผู้แทนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.อุเทน คำน่าน รักษาราชแทนอธิการบดี พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์วิเชษฐ ทิพย์ประเสริฐ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิติพร พันธุ์ท่าช้าง ผู้ช่วยอธิการบดี และอาจารย์มณฑิรา ถ้ำทอง อาจารย์คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ เดินทางไปเข้าร่วมงาน 2024 China-ASEAN Education Cooperation Week (CAECW) ณ มณฑลกุ้ยโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนความร่วมมือทางวิชาการ กับสถาบันและมหาวิทยาลัยต่างประเทศในหัวข้อ "Advancing High-Quality Vocational Education through International Integration of Industrial Capacity in the New Era - The 2nd Workshop on International Cooperation in Vocational Education under the Background of China's Modernization." เพื่อส่งเสริมมิตรภาพระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศในกลุ่มอาเซียน ด้านการศึกษา รวมถึงร่วมแสดงความยินดีในโอกาสครบรอบ 17 ปี การก่อตั้ง China-ASEAN Education Cooperation
ทั้งนี้อธิการบดีได้นำเสนอถึงความร่วมมือของ มทร.ล้านนา ในบทบาทของประเทศในระดับอาเซียน ที่มีความร่วมมือด้านการพัฒนาการศึกษาร่วมกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ผ่านสถานบันจิงซือ และบริษัทปักกิ่งหัวเทค อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี และได้นำเสนอหลักสูตรการเรียนการสอน รวมถึงประวัติความเป็นมาของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และภาพรวมด้านการบริหารจัดการในพื้นที่ต่าง ๆ
โดยความร่วมมือระหว่าง มทร.ล้านนากับวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาในประเทศจีน ที่ทำร่วมกับมทร.ล้านนา ได้แก่
• Guizhou Light Industry Technical College
• Nanjing Vocational Institute of Transport Technology
• Jiangsu Food & Pharmaceutical Science College
• Nanjing Vocational College of Information Technology
ซึ่งได้ทำความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในการพัฒนานักศึกษาเข้าร่วมโครงการอบรมระยะสั้น ด้านยานยนต์ไฟฟ้า ด้าน Big Data และด้านแพทย์ยาจีน ที่เป็นการอบรมในรูปแบบระยะสั้น และหลักสูตรประกาศนียบัตรระยะยาว หลักสูตรร่วมประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ร่วมกับระดับปริญญาตรีต่อเนื่องในประเทศไทย ด้วยระยะเวลา 0.5+1.5+1 และยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาจีนมาเรียนในประเทศไทยในระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษาในอนาคต
ความร่วมมือดังกล่าวถือเป็นบทบาทสำคัญในการพัฒนาความร่วมมือเพื่อการศึกษาด้านเทคโนโลยีกับประเทศที่เชี่ยวชาญ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสในการทำงานของผู้สำเร็จการศึกษาต่อไปในอนาคต
คลังรูปภาพ : 2024 CAECW
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา