โลโก้เว็บไซต์ ทีม Theobromine โครงการพัฒนาช็อกโกแลต คว้ารางวัลชนะเลิศโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น 2567 เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัย ประกวดระดับภาคเหนือ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

ทีม Theobromine โครงการพัฒนาช็อกโกแลต คว้ารางวัลชนะเลิศโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น 2567 เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัย ประกวดระดับภาคเหนือ

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 23 กันยายน 2567 โดย สิริญญา ณ นคร จำนวนผู้เข้าชม 158 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับธนาคารออมสิน จัดงาน“นำเสนอผลสัมฤทธิ์โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี 2567” เพื่อคัดเลือกผลงาน เป็นตัวแทนประกวดในระดับภาคเหนือ โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์อัคค์สัจจา  ดวงสุภาสิญจ์ รองอธิการบดี ฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ เป็นประธานกล่าวเปิดงานเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2567 ณ ห้องประชุมศรีสัชนาลัย โรงแรมคุ้มภูคำ เชียงใหม่ โดยมี นางสาวจรรยพร อนันตพรรค ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการรายย่อยและองค์กรชุมชน, นายกิตติพงศ์ สาใจ ผู้จัดการธนาคารออมสินสาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และนายนคร สุวรรณกาศ ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสินภาค 8 หน่วยพัฒนาสังคมและชุมชน เป็นคณะกรรมการในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์

ในปี 2567 มี 5 ทีมเข้าร่วมส่งผลงานได้แก่

  1. ทีม หม่อนดี Zero Waste โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกากหม่อน วิสาหกิจ ชุมชนผลิตภัณฑ์แปรรูปไทยลั๊วะ บ้านสะเกี้ยง ตำบลขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติจังหวัดน่าน นำเสนอแบบ Online
  2. ทีม DPM Sandbox โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์เพื่อการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวชุมชนทากาศวิลเลจ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
  3. ทีม The Laugh Factory โครงการแม่สูนน้อย : แอ่วม่วนใจ๋ แบบไร้คาร์บอน อ.ฝาง จังหวัดเชียงใหม่
  4. ทีม Theobromine โครงการพัฒนาช็อกโกแลต กลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์เรียนรู้ แปรรูปโกโก้ดอย ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
  5. ทีม ฟินน์ (Finn) โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์แบรนด์ปรุงนา (น้าจิ้มปูหวานอบแห้ง) อำเภอพร้าว จังหวัด เชียงใหม่

 

โดยทีม ทีม Theobromine โครงการพัฒนาช็อกโกแลต กลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์เรียนรู้ แปรรูปโกโก้ดอย ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ คว้ารางวัลชนะเลิศ รับโล่และเงินรางวัล 4,000 บาท พร้อมเป็นตัวแทนมหาวิทยาลัย ประกวดในระดับภาคเหนือต่อไป







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon